วันศุกร์ที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2556

น้ำหนักตัวโดยเฉลี่ยของทารกวัยแรกเกิด – 1 ขวบ

พ่อแม่หลายคนเวลาเจอเด็กทารกคนอื่นที่รูปร่างอวบอ้วน จ้ำม้ำน่าหยิก ก็อาจจะกังวลว่า ลูกของเรานั้นมีน้ำหนักตัวน้อยเกินไปหรือเปล่า หรือบางคนก็กังวลว่าลูกของเราจะกินนมน้อยไปไหมทำให้น้ำหนักตัวน้อย วันนี้เราจะแนะนำเกณฑ์น้ำหนักมาตราฐานของเด็กในวัยแรกเกิดจนอายุ 1 ปีเพื่อเป็นแนวทางให้กับคุณพ่อคุณแม่ค่ะ


เด็กวัยแรกเกิดควรมีน้ำหนักตัวประมาณเท่าไร?
โดยปกติเด็กวัยแรกเกิดที่คลอดตามปกติ (ไม่ได้คลอดก่อนกำหนด) จะมีน้ำหนักตัวเฉลี่ยประมาณ 3,000 กรัม (3 กิโลกรัม) แต่ก็มีไม่น้อยที่เด็กเกิดมาแล้วมีน้ำหนักตัวถึง 4,000 กรัม (ทีมงานเราท่านหนึ่งเกิดมาน้ำหนักตัวตั้ง 4,200 กรัม แหนะ) ดังนั้นหากลูกของเรามีน้ำหนักตัวระหว่าง 3,000 – 4,000 กรัมก็ถือว่าเป็นปกติสำหรับเด็กแล้วค่ะ ไม่ต้องกังวลไป แต่หากลูกของเราเป็นเด็กที่คลอดก่อนกำหนด โดยมากน้ำหนักตัวจะไม่ถึง 3,000 กรัม แต่ไม่ต้องห่วงค่ะ เมื่อเขาเติบโตขึ้นน้ำหนักตัวของเขาก็จะเพิ่มไวกว่าเด็กทั่วไปเช่นกันค่ะ

เมื่อทารกแรกเกิดเข้าสู่วัย 3 เดือน
น้ำหนักตัวหลักจากแรกเกิดนั้น โดยเฉลี่ยจะมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น 700 – 800 กรัมต่อเดือน ดังนั้นเมื่อลูกของเรามีอายุครบ 3 เดือน น้ำหนักตัวของลูกก็ควรจะเพิ่มขึ้นประมาณ 2,100 – 2,400 กรัม นับจากตอนแรกเกิด แต่ทั้งนี้เด็กบางคนก็อาจจะมีเกณฑ์เพิ่มมากหรือน้อยกว่าเกณฑ์ได้ค่ะ

เมื่อทารกเข้าสู่วัย 4 – 6 เดือน
น้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นเฉลี่ยในแต่ละเดือนในช่วงนี้จะอยู่ที่ 500 – 600 กรัมต่อเดือน ซึ่งจะน้อยกว่าในช่วง 1 – 3 เดือน คุณพ่อคุณแม่ไม่ต้องกังวลไปนะค่ะ แต่หากเด็กบางคนที่น้ำหนักตัวเพิ่มมากกว่าเกณฑ์นี้ ก็ต้องดูว่าลูกกินอะไรไปเป็นพิเศษหรือเปล่านะค่ะ

เมื่อทารกเข้าสู้วัย 7 – 9 เดือน
น้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นในแต่ละเดือนจะอยู่ที่ประมาณ 400 กรัมต่อเดือน อาจมีมากหรือน้อยกว่านี้นิดหน่อยค่ะ

เมื่อทารกเข้าสู่วัย 9 – 12 เดือน
น้ำหนักตัวที่เพิ่มในแต่ละเดือนจะลดลงอีก เหลือเพียงเดือนละประมาณ 300 กรัมต่อเดือนค่ะ

เมื่อทารกเข้าสู่วัย 1 ขวบ
ช่วงนี้น้ำหนักตัวจะเพิ่มเพียงเดือนละ 200 กรัม ซึ่งมีปัจจัยหลายอย่างที่จะทำให้ลูกมีน้ำหนักตัวเพิ่มมากหรือน้อยในแต่ละเดือนด้วย

ซึ่งการเพิ่มขึ้นของน้ำหนักตัวนั้นบางครั้งอาจจะเพิ่มหรือลดเพราะมีปัจจัยอื่นที่ทำให้น้ำหนักตัวของลูกเปลี่ยนแปลง เช่น

ฟันกำลังจะขึ้น
ไม่สบายหรือมีอาการเจ็บป่วย
เพิ่งกินนมหรืออาหารเสร็จ
เพิ่งถ่ายอุจจาระหรือปัสสาวะไป
ถอดหรือใส่เสื้อผ้าหรือผ้าอ้อมสำเร็จรูป
แล้วเราควรจะชั่งน้ำหนักลูกบ่อยแค่ไหน?
หากที่บ้านมีเครื่องชั่งที่เหมาะสมอยู่แล้วก็สามารถชั่งน้ำหนักได้ทุกวันค่ะ แต่หากไม่มีก็ชั่งตอนที่เราพาลูกไปพบคุณหมอตามนัดปกติก็ได้ หากน้ำหนักตัวของลูกต่ำกว่าเกณฑ์เล็กน้อย แต่เขายังคงกินนมได้ตามปกติ ร่าเริง นอนหลับได้ตามปกติแม้น้ำหนักตัวจะเพิ่มน้อยกว่าเกณฑ์เล็กน้อยก็ยังไม่ต้องกังวลมากเกินไปนะค่ะ แต่หากต่ำกว่าเกณฑ์มากๆ ก็อาจจะขอคำแนะนำจากคุณหมอตอนที่เราพาลูกไปฉีดวัคซีนก็ได้ค่ะ

babytrick.com

น้ำหนักตัวโดยเฉลี่ยของทารกวัยแรกเกิด – 1 ขวบ

พ่อแม่หลายคนเวลาเจอเด็กทารกคนอื่นที่รูปร่างอวบอ้วน จ้ำม้ำน่าหยิก ก็อาจจะกังวลว่า ลูกของเรานั้นมีน้ำหนักตัวน้อยเกินไปหรือเปล่า หรือบางคนก็กังวลว่าลูกของเราจะกินนมน้อยไปไหมทำให้น้ำหนักตัวน้อย วันนี้เราจะแนะนำเกณฑ์น้ำหนักมาตราฐานของเด็กในวัยแรกเกิดจนอายุ 1 ปีเพื่อเป็นแนวทางให้กับคุณพ่อคุณแม่ค่ะ


เด็กวัยแรกเกิดควรมีน้ำหนักตัวประมาณเท่าไร?
โดยปกติเด็กวัยแรกเกิดที่คลอดตามปกติ (ไม่ได้คลอดก่อนกำหนด) จะมีน้ำหนักตัวเฉลี่ยประมาณ 3,000 กรัม (3 กิโลกรัม) แต่ก็มีไม่น้อยที่เด็กเกิดมาแล้วมีน้ำหนักตัวถึง 4,000 กรัม (ทีมงานเราท่านหนึ่งเกิดมาน้ำหนักตัวตั้ง 4,200 กรัม แหนะ) ดังนั้นหากลูกของเรามีน้ำหนักตัวระหว่าง 3,000 – 4,000 กรัมก็ถือว่าเป็นปกติสำหรับเด็กแล้วค่ะ ไม่ต้องกังวลไป แต่หากลูกของเราเป็นเด็กที่คลอดก่อนกำหนด โดยมากน้ำหนักตัวจะไม่ถึง 3,000 กรัม แต่ไม่ต้องห่วงค่ะ เมื่อเขาเติบโตขึ้นน้ำหนักตัวของเขาก็จะเพิ่มไวกว่าเด็กทั่วไปเช่นกันค่ะ

เมื่อทารกแรกเกิดเข้าสู่วัย 3 เดือน
น้ำหนักตัวหลักจากแรกเกิดนั้น โดยเฉลี่ยจะมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น 700 – 800 กรัมต่อเดือน ดังนั้นเมื่อลูกของเรามีอายุครบ 3 เดือน น้ำหนักตัวของลูกก็ควรจะเพิ่มขึ้นประมาณ 2,100 – 2,400 กรัม นับจากตอนแรกเกิด แต่ทั้งนี้เด็กบางคนก็อาจจะมีเกณฑ์เพิ่มมากหรือน้อยกว่าเกณฑ์ได้ค่ะ

เมื่อทารกเข้าสู่วัย 4 – 6 เดือน
น้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นเฉลี่ยในแต่ละเดือนในช่วงนี้จะอยู่ที่ 500 – 600 กรัมต่อเดือน ซึ่งจะน้อยกว่าในช่วง 1 – 3 เดือน คุณพ่อคุณแม่ไม่ต้องกังวลไปนะค่ะ แต่หากเด็กบางคนที่น้ำหนักตัวเพิ่มมากกว่าเกณฑ์นี้ ก็ต้องดูว่าลูกกินอะไรไปเป็นพิเศษหรือเปล่านะค่ะ

เมื่อทารกเข้าสู้วัย 7 – 9 เดือน
น้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นในแต่ละเดือนจะอยู่ที่ประมาณ 400 กรัมต่อเดือน อาจมีมากหรือน้อยกว่านี้นิดหน่อยค่ะ

เมื่อทารกเข้าสู่วัย 9 – 12 เดือน
น้ำหนักตัวที่เพิ่มในแต่ละเดือนจะลดลงอีก เหลือเพียงเดือนละประมาณ 300 กรัมต่อเดือนค่ะ

เมื่อทารกเข้าสู่วัย 1 ขวบ
ช่วงนี้น้ำหนักตัวจะเพิ่มเพียงเดือนละ 200 กรัม ซึ่งมีปัจจัยหลายอย่างที่จะทำให้ลูกมีน้ำหนักตัวเพิ่มมากหรือน้อยในแต่ละเดือนด้วย

ซึ่งการเพิ่มขึ้นของน้ำหนักตัวนั้นบางครั้งอาจจะเพิ่มหรือลดเพราะมีปัจจัยอื่นที่ทำให้น้ำหนักตัวของลูกเปลี่ยนแปลง เช่น

ฟันกำลังจะขึ้น
ไม่สบายหรือมีอาการเจ็บป่วย
เพิ่งกินนมหรืออาหารเสร็จ
เพิ่งถ่ายอุจจาระหรือปัสสาวะไป
ถอดหรือใส่เสื้อผ้าหรือผ้าอ้อมสำเร็จรูป
แล้วเราควรจะชั่งน้ำหนักลูกบ่อยแค่ไหน?
หากที่บ้านมีเครื่องชั่งที่เหมาะสมอยู่แล้วก็สามารถชั่งน้ำหนักได้ทุกวันค่ะ แต่หากไม่มีก็ชั่งตอนที่เราพาลูกไปพบคุณหมอตามนัดปกติก็ได้ หากน้ำหนักตัวของลูกต่ำกว่าเกณฑ์เล็กน้อย แต่เขายังคงกินนมได้ตามปกติ ร่าเริง นอนหลับได้ตามปกติแม้น้ำหนักตัวจะเพิ่มน้อยกว่าเกณฑ์เล็กน้อยก็ยังไม่ต้องกังวลมากเกินไปนะค่ะ แต่หากต่ำกว่าเกณฑ์มากๆ ก็อาจจะขอคำแนะนำจากคุณหมอตอนที่เราพาลูกไปฉีดวัคซีนก็ได้ค่ะ

babytrick.com

4 ข้อคิดเลือกซื้อเสื้อผ้าเด็กให้ลูกวัย 1-3 ขวบ

สมัยนี้ เสื้อผ้าเด็ก แฟชั่นสำหรับเด็กในช่วงอายุ 1-3 ขวบปีนั้นมีมากมาย ไม่ว่าผู้ใหญ่จะมีชุดหรู สวยงามแค่ไหน ตอนนี้แฟชั่นเหล่านั้นก็ถูกออกแบบมาให้สำหรับเจ้าตัวเล็กของเราด้วยเช่นกัน จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่เวลาคุณพ่อคุณแม่ที่เพิ่งจะมีลูกคนแรกนั้นเวลาไปเดินตามห้างสรรพสินค้าจะเห็นแผนกเสื้อผ้าเด็กนั้น มีเสื้อผ้าที่ออกแบบแฟชั่นหลากหลายและดูสวย หล่อ เท่ห์ ไม่แพ้แฟชั่นของผู้ใหญ่เลยทีเดียว แต่ก่อนที่เราจะเลือกซื้อเสื้อผ้าให้เด็กเล็ก โดยเฉพาะเมื่อลูกของเรานั้นอยู่ในช่วงปฐมวัยคือ 1-3 ขวบปีแรกด้วยนั้น เราควรคำนึงถึง 3 ประเด็นหลักก่อนที่จะควักเงินออกจากกระเป๋านะค่ะ ซึ่งหลายครอบครัวมักจะลืมประเด็นเหล่านี้เสมอ


1. เลือกเสื้อผ้าเด็กที่สามารถใส่ได้หลากหลายโอกาส
เสื้อผ้าเด็กบางชุดนั้น ถูกออกแบบมาด้วยแฟชั่นที่เหมาะกับการพาออกงาน เช่น เสื้อสูท ชุดราตรี ชุดนางฟ้า ฯลฯ ซึ่งหากคุณพ่อคุณแม่ที่จะซื้อชุดแนวนี้ให้ลูก ต้องจำให้ขึ้นใจว่า เด็กในวัยนี้จะมีการเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกายมาก มีการยืด ขยาย ร่างกายได้รวดเร็ว ดังนั้นหากมั่นใจว่าเสื้อผ้าที่ซื้อไปนั้น เราสามารถให้ลูกใส่ได้ทุกโอกาส ทั้งใส่ลำลองอยู่บ้าน หรือออกไปเที่ยวเล่นนอกบ้านในวันธรรมดา หรือจะออกไปงานกับพ่อแม่ก็ได้เช่นกัน แบบนี้ก็จะคุ้มค่ากว่าที่จะซื้อชุดที่ดูหรูหรา แต่ใส่เดินเล่นนอกบ้านแล้วดูแปลกๆ หรือถ้าใครจะให้ลูกใส่ชุดสูท ทักสิโด หรือชุดนางฟ้าไปเดินเล่นสนามหน้าบ้านทุกวัน หรือสัปดาห์ละครั้งได้ อันนี้ก็โอเคค่ะ ไม่ว่ากัน แต่หลายครอบครัวไม่เป็นอย่างนั้น เพราะบางครั้งจะให้ลูกใส่เสื้อผ้าเด็กชุดหล่อๆ สวยๆ อยู่บ้านเฉยๆ ก็ไม่กล้า สุดท้ายลูกโตขึ้นอย่างรวดเร็ว ชุดหล่อชุดสวยที่เคยซื้อไว้ ลูกใส่ได้แค่ไม่กี่ครั้งก็ต้องยกให้ลูกคนอื่น

ในทางกลับกัน หากคุณพ่อคุณแม่ที่เลือกเสื้อผ้าแนวกลางๆ สามารถนำมาสับเปลี่ยนกับชุดอื่นๆ ได้ เพื่อเพิ่มความหลากหลายของเสื้อผ้า แบบนี้ก็จะทำให้คุ้มค่าและสามารถจับเจ้าตัวเล็กมาแต่งตัวได้หลายแนว หล่อ เท่ห์ ได้ทุกวัน คุ้มค่ากับค่าเสื้อผ้าแน่นอนค่ะ

2. เลือกเสื้อผ้าเด็กทำจาก ผ้าฝ้าย (Cotton) เป็นผ้าหลักของเสื้อผ้าเด็ก
เมืองไทยเป็นเมืองร้อน เสื้อผ้าเด็กส่วนใหญ่จะทำมาจากผ้าฝ้าย (Cotton) อยู่แล้ว แต่เสื้อผ้าเด็กบางชนิดก็ทำมาจากผ้าฝ้ายผสมบ้าง ผ้าอื่นที่ไม่ใช่ผ้าฝ้ายบ้าง เหตุที่แนะนำให้ใช้ผ้าฝ้ายนั้น เนื่องจากว่า เด็กในช่วงอายุ 1-3 ขวบนั้นเขามักจะไม่ชอบอยู่เฉย รักการเล่น ยิ่งวิ่งไปวิ่งมา เหงื่อเต็มตัว แถมยังไม่ค่อยรู้เรื่อง ไม่ระมัดระวังเรื่องความสกปรกต่างๆ อาจจะทำให้เสื้อผ้าเด็กชุดเก่งของเขาเปื้อนเอาง่ายๆ ซึ่งผ้าฝ้ายเมื่อนำมาตัดเย็บเป็นเสื้อผ้าเด็กแล้วจะมีคุณสมบัติในการระบายความร้อน และทนทานต่อการซัก (หนักๆ) ได้ดี ปัญหาเรื่องเสื้อหด เสื้อผ้าย้วยเสียทรงไม่ค่อยเกิดขึ้นกับเสื้อผ้าที่ทำมาจากผ้าฝ้าย

การระบายความร้อนเป็นเรื่องสำคัญมากสำหรับเสื้อผ้าเด็ก โดยเฉพาะในประเทศไทย อากาศกลางวันจะร้อนมาก และยิ่งมีฝนตกด้วย การตากผ้าวันฝนตกถือเป็นเรื่องกลุ้มใจของพ่อแม่เลยทีเดียว หากเสื้อผ้าไม่สามารถระบายความร้อนระบายเหงื่อได้ดี และยังแห้งช้า จะเกิดปัญหาผ้าเหม็นอับ หรือเสื้อผ้ามีกลิ่น ซึ่งไม่ดีต่อสุขภาพของลูกเลยค่ะ

3. อย่ายึดติดกับแบรนด์เนมในเสื้อผ้าเด็ก
แน่นอนว่าเสื้อผ้าที่มีแบรนด์เนม พ่อแม่หลายคนอาจจะเชื่อว่ามันน่าจะมีคุณภาพดีกว่า ทนทานกว่า โดยอาจจะคิดอ้างอิงจากเสื้อผ้าของผู้ใหญ่ที่เสื้อผ้าแบรนด์เนมมักจะมีคุณภาพความคงทนได้นานกว่าเสื้อผ้าตามตลาดนัดทั่วไป แต่เนื่องจากว่าเสื้อผ้าแบรนด์เนมนั้นโดยเฉพาะเสื้อผ้าเด็กจะมีราคาสูงมาก บางครั้งซื้อเสื้อเด็ก 1 ตัวของแบรนด์เนมในห้าง สามารถซื้อเสื้อผ้าเด็กตามร้านข้างนอกที่ใช้เนื้อผ้าดีๆ ได้ 2-3 ตัวเลยทีเดียว

เนื่องจากเด็กจะมีการขยายตัวเร็วกว่าผู้ใหญ่ การทุ่มทุนซื้อเสื้อผ้าเด็กที่เป็นแบรนด์เนมตัวนึงหลายร้อย หรือหลักพันบาทต่อชิ้นนั้น ดูจะเป็นการลงทุนที่ไม่ค่อยเหมาะเท่าไร เพราะใส่ได้ไม่กี่ครั้งก็โตจนใส่ไม่ได้ ยิ่งถ้าเป็นชุดแฟชั่นออกงานด้วยยิ่งนานๆ ใส่ที เผลอๆ ซื้อมาได้ใส่จริงไม่ถึง 10 ครั้งก็โตจนใส่เสื้อผ้าไม่ได้แล้ว

ดังนั้นควรจะให้ความสำคัญด้านเนื้อผ้าเป็นอันดับแรก ลำดับต่อมาคือลักษณะการตัดเย็บ และสุดท้ายคือแบบของเสื้อผ้า ส่วนจะมียี่ห้อดังหรือไม่นั้น อันนี้ก็แล้วแต่ความเหมาะสมกับฐานะเงินในกระเป๋าของคุณพ่อคุณแม่นะค่ะ

4. แต่งหล่อ แต่งสวย ให้ลูกตอนอยู่บ้านบ้างก็ได้
กรณีที่พ่อแม่หลายคนเก็บเสื้อผ้าเด็กชุดหล่อชุดเก่งให้ลูกไว้ แต่ลืมหรือไม่เคยคิดจะให้ลูกแต่งหล่อแต่งสวยเวลาอยู่บ้านเฉยๆ ก็อาจจะพลาดโอกาสดีๆ ไปนะค่ะ เพราะความจริงแล้วคุณสามารถให้เจ้าตัวเล็กดูหล่อ เท่ห์ สวย แม้จะเป็นวันธรรมดาที่นอนเล่นอยู่บ้านก็ได้ หากสังเกตดูในแต่ละปีนั้นโอกาสที่เราจะพาเจ้าตัวเล็กออกงานจริงๆ นั้นคงมีน้อยมาก

หากอยากได้ความคุ้มค่ากับเสื้อผ้าที่เสียไปแล้ว ก็ควรให้ลูกได้หล่อ ได้สวย แม้วันที่อยู่บ้านบ้างก็ไม่เป็นไร ลูกอาจจะซน เล่น ทำเสื้อผ้าเลอะบ้าง ก็อย่างเพิ่งดุหรือโกรธเขา คิดง่ายๆ ว่าเสื้อผ้าเด็กที่ซื้อมาจากร้านขายเสื้อผ้าเด็กแล้ว ถ้าเราไม่ให้เขาใส่ ก็คงไม่มีใครได้ใส่ (ยกเว้นจะเก็บส่งต่อเป็นมรกดให้น้อง) ไม่เหมือนเสื้อผ้าผู้ใหญ่ที่ถึงแม้เราจะไม่ใส่ในช่วงนี้ แต่ก็ยังมีโอกาสได้ใส่ออกงานสังคมมากกว่าลูกแน่นอน

4 ข้อคิดเลือกซื้อเสื้อผ้าเด็กให้ลูกวัย 1-3 ขวบ

สมัยนี้ เสื้อผ้าเด็ก แฟชั่นสำหรับเด็กในช่วงอายุ 1-3 ขวบปีนั้นมีมากมาย ไม่ว่าผู้ใหญ่จะมีชุดหรู สวยงามแค่ไหน ตอนนี้แฟชั่นเหล่านั้นก็ถูกออกแบบมาให้สำหรับเจ้าตัวเล็กของเราด้วยเช่นกัน จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่เวลาคุณพ่อคุณแม่ที่เพิ่งจะมีลูกคนแรกนั้นเวลาไปเดินตามห้างสรรพสินค้าจะเห็นแผนกเสื้อผ้าเด็กนั้น มีเสื้อผ้าที่ออกแบบแฟชั่นหลากหลายและดูสวย หล่อ เท่ห์ ไม่แพ้แฟชั่นของผู้ใหญ่เลยทีเดียว แต่ก่อนที่เราจะเลือกซื้อเสื้อผ้าให้เด็กเล็ก โดยเฉพาะเมื่อลูกของเรานั้นอยู่ในช่วงปฐมวัยคือ 1-3 ขวบปีแรกด้วยนั้น เราควรคำนึงถึง 3 ประเด็นหลักก่อนที่จะควักเงินออกจากกระเป๋านะค่ะ ซึ่งหลายครอบครัวมักจะลืมประเด็นเหล่านี้เสมอ


1. เลือกเสื้อผ้าเด็กที่สามารถใส่ได้หลากหลายโอกาส
เสื้อผ้าเด็กบางชุดนั้น ถูกออกแบบมาด้วยแฟชั่นที่เหมาะกับการพาออกงาน เช่น เสื้อสูท ชุดราตรี ชุดนางฟ้า ฯลฯ ซึ่งหากคุณพ่อคุณแม่ที่จะซื้อชุดแนวนี้ให้ลูก ต้องจำให้ขึ้นใจว่า เด็กในวัยนี้จะมีการเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกายมาก มีการยืด ขยาย ร่างกายได้รวดเร็ว ดังนั้นหากมั่นใจว่าเสื้อผ้าที่ซื้อไปนั้น เราสามารถให้ลูกใส่ได้ทุกโอกาส ทั้งใส่ลำลองอยู่บ้าน หรือออกไปเที่ยวเล่นนอกบ้านในวันธรรมดา หรือจะออกไปงานกับพ่อแม่ก็ได้เช่นกัน แบบนี้ก็จะคุ้มค่ากว่าที่จะซื้อชุดที่ดูหรูหรา แต่ใส่เดินเล่นนอกบ้านแล้วดูแปลกๆ หรือถ้าใครจะให้ลูกใส่ชุดสูท ทักสิโด หรือชุดนางฟ้าไปเดินเล่นสนามหน้าบ้านทุกวัน หรือสัปดาห์ละครั้งได้ อันนี้ก็โอเคค่ะ ไม่ว่ากัน แต่หลายครอบครัวไม่เป็นอย่างนั้น เพราะบางครั้งจะให้ลูกใส่เสื้อผ้าเด็กชุดหล่อๆ สวยๆ อยู่บ้านเฉยๆ ก็ไม่กล้า สุดท้ายลูกโตขึ้นอย่างรวดเร็ว ชุดหล่อชุดสวยที่เคยซื้อไว้ ลูกใส่ได้แค่ไม่กี่ครั้งก็ต้องยกให้ลูกคนอื่น

ในทางกลับกัน หากคุณพ่อคุณแม่ที่เลือกเสื้อผ้าแนวกลางๆ สามารถนำมาสับเปลี่ยนกับชุดอื่นๆ ได้ เพื่อเพิ่มความหลากหลายของเสื้อผ้า แบบนี้ก็จะทำให้คุ้มค่าและสามารถจับเจ้าตัวเล็กมาแต่งตัวได้หลายแนว หล่อ เท่ห์ ได้ทุกวัน คุ้มค่ากับค่าเสื้อผ้าแน่นอนค่ะ

2. เลือกเสื้อผ้าเด็กทำจาก ผ้าฝ้าย (Cotton) เป็นผ้าหลักของเสื้อผ้าเด็ก
เมืองไทยเป็นเมืองร้อน เสื้อผ้าเด็กส่วนใหญ่จะทำมาจากผ้าฝ้าย (Cotton) อยู่แล้ว แต่เสื้อผ้าเด็กบางชนิดก็ทำมาจากผ้าฝ้ายผสมบ้าง ผ้าอื่นที่ไม่ใช่ผ้าฝ้ายบ้าง เหตุที่แนะนำให้ใช้ผ้าฝ้ายนั้น เนื่องจากว่า เด็กในช่วงอายุ 1-3 ขวบนั้นเขามักจะไม่ชอบอยู่เฉย รักการเล่น ยิ่งวิ่งไปวิ่งมา เหงื่อเต็มตัว แถมยังไม่ค่อยรู้เรื่อง ไม่ระมัดระวังเรื่องความสกปรกต่างๆ อาจจะทำให้เสื้อผ้าเด็กชุดเก่งของเขาเปื้อนเอาง่ายๆ ซึ่งผ้าฝ้ายเมื่อนำมาตัดเย็บเป็นเสื้อผ้าเด็กแล้วจะมีคุณสมบัติในการระบายความร้อน และทนทานต่อการซัก (หนักๆ) ได้ดี ปัญหาเรื่องเสื้อหด เสื้อผ้าย้วยเสียทรงไม่ค่อยเกิดขึ้นกับเสื้อผ้าที่ทำมาจากผ้าฝ้าย

การระบายความร้อนเป็นเรื่องสำคัญมากสำหรับเสื้อผ้าเด็ก โดยเฉพาะในประเทศไทย อากาศกลางวันจะร้อนมาก และยิ่งมีฝนตกด้วย การตากผ้าวันฝนตกถือเป็นเรื่องกลุ้มใจของพ่อแม่เลยทีเดียว หากเสื้อผ้าไม่สามารถระบายความร้อนระบายเหงื่อได้ดี และยังแห้งช้า จะเกิดปัญหาผ้าเหม็นอับ หรือเสื้อผ้ามีกลิ่น ซึ่งไม่ดีต่อสุขภาพของลูกเลยค่ะ

3. อย่ายึดติดกับแบรนด์เนมในเสื้อผ้าเด็ก
แน่นอนว่าเสื้อผ้าที่มีแบรนด์เนม พ่อแม่หลายคนอาจจะเชื่อว่ามันน่าจะมีคุณภาพดีกว่า ทนทานกว่า โดยอาจจะคิดอ้างอิงจากเสื้อผ้าของผู้ใหญ่ที่เสื้อผ้าแบรนด์เนมมักจะมีคุณภาพความคงทนได้นานกว่าเสื้อผ้าตามตลาดนัดทั่วไป แต่เนื่องจากว่าเสื้อผ้าแบรนด์เนมนั้นโดยเฉพาะเสื้อผ้าเด็กจะมีราคาสูงมาก บางครั้งซื้อเสื้อเด็ก 1 ตัวของแบรนด์เนมในห้าง สามารถซื้อเสื้อผ้าเด็กตามร้านข้างนอกที่ใช้เนื้อผ้าดีๆ ได้ 2-3 ตัวเลยทีเดียว

เนื่องจากเด็กจะมีการขยายตัวเร็วกว่าผู้ใหญ่ การทุ่มทุนซื้อเสื้อผ้าเด็กที่เป็นแบรนด์เนมตัวนึงหลายร้อย หรือหลักพันบาทต่อชิ้นนั้น ดูจะเป็นการลงทุนที่ไม่ค่อยเหมาะเท่าไร เพราะใส่ได้ไม่กี่ครั้งก็โตจนใส่ไม่ได้ ยิ่งถ้าเป็นชุดแฟชั่นออกงานด้วยยิ่งนานๆ ใส่ที เผลอๆ ซื้อมาได้ใส่จริงไม่ถึง 10 ครั้งก็โตจนใส่เสื้อผ้าไม่ได้แล้ว

ดังนั้นควรจะให้ความสำคัญด้านเนื้อผ้าเป็นอันดับแรก ลำดับต่อมาคือลักษณะการตัดเย็บ และสุดท้ายคือแบบของเสื้อผ้า ส่วนจะมียี่ห้อดังหรือไม่นั้น อันนี้ก็แล้วแต่ความเหมาะสมกับฐานะเงินในกระเป๋าของคุณพ่อคุณแม่นะค่ะ

4. แต่งหล่อ แต่งสวย ให้ลูกตอนอยู่บ้านบ้างก็ได้
กรณีที่พ่อแม่หลายคนเก็บเสื้อผ้าเด็กชุดหล่อชุดเก่งให้ลูกไว้ แต่ลืมหรือไม่เคยคิดจะให้ลูกแต่งหล่อแต่งสวยเวลาอยู่บ้านเฉยๆ ก็อาจจะพลาดโอกาสดีๆ ไปนะค่ะ เพราะความจริงแล้วคุณสามารถให้เจ้าตัวเล็กดูหล่อ เท่ห์ สวย แม้จะเป็นวันธรรมดาที่นอนเล่นอยู่บ้านก็ได้ หากสังเกตดูในแต่ละปีนั้นโอกาสที่เราจะพาเจ้าตัวเล็กออกงานจริงๆ นั้นคงมีน้อยมาก

หากอยากได้ความคุ้มค่ากับเสื้อผ้าที่เสียไปแล้ว ก็ควรให้ลูกได้หล่อ ได้สวย แม้วันที่อยู่บ้านบ้างก็ไม่เป็นไร ลูกอาจจะซน เล่น ทำเสื้อผ้าเลอะบ้าง ก็อย่างเพิ่งดุหรือโกรธเขา คิดง่ายๆ ว่าเสื้อผ้าเด็กที่ซื้อมาจากร้านขายเสื้อผ้าเด็กแล้ว ถ้าเราไม่ให้เขาใส่ ก็คงไม่มีใครได้ใส่ (ยกเว้นจะเก็บส่งต่อเป็นมรกดให้น้อง) ไม่เหมือนเสื้อผ้าผู้ใหญ่ที่ถึงแม้เราจะไม่ใส่ในช่วงนี้ แต่ก็ยังมีโอกาสได้ใส่ออกงานสังคมมากกว่าลูกแน่นอน

ให้ลูกกินอาหารเสริมในช่วง 6 เดือนแรก ทำให้ลูกเป็นโรคภูมิแพ้

เคยได้ยินไหมค่ะว่า พอลูกอายุเท่า นั้นเท่านี้เดือน ต้องให้ลูกหัดกินข้าวสุกบดผสมกล้วย ข้าวตุ๋นใส่ตับ ฯลฯ สิ่งที่เคยได้ยินมาจากคนโบราณนั้นต้องถือว่า บางอย่างก็ควรนำไปปฏิบัติ แต่บางเรื่องก็อาจจะทำให้เกิดผลร้ายมากกว่าผลดี โดยเฉพาะการรีบให้ลูกได้ กินอาหารในช่วงอายุ 6 เดือนแรก เราอาจจะทำให้ลูกต้องแพ้อาหารบางชนิดไปจนโตโดยไม่รู้ตัวเลยทีเดียว


จริงๆ ความเชื่อที่ให้ลูกได้กินอาหารอื่นๆ นอกจากนมแม่ในช่วง 4 เดือนนั้น เชื่อว่าหลายๆ ครอบครัวต้องเคยได้ยินมาก่อนแน่นอน แต่พ่อแม่หลายคนอาจจะไม่ทราบว่า ในช่วงที่ลูกของเรามีอายุยังไม่ถึง 6 เดือนแรก ระบบการทำงานของไต และตับของลูก ซึ่งทำหน้าที่ในการกรองสารพิษต่างๆ ยังทำงานได้ไม่ดี หากลูกของเราได้รับอาหารที่มีการปนเปื้อนสารพิษ (จากยาฆ่าแมลง, สารเคมีต่างๆ ในผัก, สารเร่งเนื้อแดงในเนื้อสัตว์ รวมถึง ฮอร์โมนต่างๆ ที่ผสมเข้าไปในอาหารสัตว์) ทำให้ร่างกายของลูกไม่สามารถขับสารพิษเหล่านั้นออกมาได้ ทำให้ร่างกายสะสมสารพิษและกลายเป็นโรคแพ้อาหารบางชนิดทันที

อาจจะมีบางคนแย้งว่าในสมัยโบราณก็เลี้ยงกันแบบนี้ ไม่เห็นจะมีใครเป็นอะไรเลย แต่ในปัจจุบันจะเห็นได้ว่า เด็กที่เกิดในยุคหลังๆ นี้ มักจะมีโรคแปลกๆ, โรคแพ้อาหาร, แพ้นั้นนี่โน้นเยอะมาก ก็เพราะว่าอาหารในปัจจุบัน ไม่ได้สะอาดเหมือนสมัยก่อน ซึ่งสมัยก่อนนั้นยังไม่มีการใช้สารพิษหรือสารเคมีมากมายในการเพาะเลี้ยงสัตว์และการเพาะปลูกพืชเหมือนในสมัยปัจจุบัน ทำให้ปริมาณสารพิษที่ตกค้างนั้นมีมากเกินที่ร่างกายของเด็กทารก ( ซึ่งระบบการกรองสารพิษในร่างกายยังไม่เจริญเติบโตเต็มที่) ก่อให้เกิดการแพ้อาหาร และเป็นโรคต่างๆ ตามมา

ในปัจจุบันในทางการแพทย์ได้ยืนยันแล้วว่า ทารกในวัยแรกเกิดจนถึงอายุ 6 เดือนแรก ไม่มีความจำเป็นต้องกินหรือดื่มอะไรนอกจากการกินนมแม่เท่านั้น (แม้แต่น้ำเปล่าก็ไม่จำเป็น) ซึ่งสารอาหารในนมแม่นั้นมีมากพอ และยังมีภูมิคุ้มกันโรคต่างๆ ที่ส่งต่อจากแม่ผ่านไปยังลูกได้อีกด้วย ดังนั้นหากจะเลือกอาหาร ก็ควรจะเลือกอาหารที่คุณแม่จะกินในแต่ละมื้อมากกว่า

สิ่งหนึ่งที่พ่อแม่สมัยใหม่ควรให้ความใส่ใจคือ น้ำดื่ม, อาหาร, ผักและผลไม้ ในยุคปัจจุบันนี้ มีสารพิษปนเปื้อนมาก การจะทานอาหารหรือดื่มอะไรก็ตาม ล้วนส่งผลโดยตรงต่อร่างกายทั้งสิ้น หากคุณแม่กำลังให้นมลูกอยู่ ด้วย ยิ่งต้องให้ความใส่ใจมากเป็นพิเศษ เพื่อให้ร่างกายของคุณแม่แข็งแรงและมีน้ำนมให้มากพอ ดังนั้นหากจะให้ลูกได้กินอาหารเสริมอื่นๆ ก็ควรจะรอให้ลูกมีอายุเกิน 6 เดือนไปก่อน

ให้ลูกกินอาหารเสริมในช่วง 6 เดือนแรก ทำให้ลูกเป็นโรคภูมิแพ้

เคยได้ยินไหมค่ะว่า พอลูกอายุเท่า นั้นเท่านี้เดือน ต้องให้ลูกหัดกินข้าวสุกบดผสมกล้วย ข้าวตุ๋นใส่ตับ ฯลฯ สิ่งที่เคยได้ยินมาจากคนโบราณนั้นต้องถือว่า บางอย่างก็ควรนำไปปฏิบัติ แต่บางเรื่องก็อาจจะทำให้เกิดผลร้ายมากกว่าผลดี โดยเฉพาะการรีบให้ลูกได้ กินอาหารในช่วงอายุ 6 เดือนแรก เราอาจจะทำให้ลูกต้องแพ้อาหารบางชนิดไปจนโตโดยไม่รู้ตัวเลยทีเดียว


จริงๆ ความเชื่อที่ให้ลูกได้กินอาหารอื่นๆ นอกจากนมแม่ในช่วง 4 เดือนนั้น เชื่อว่าหลายๆ ครอบครัวต้องเคยได้ยินมาก่อนแน่นอน แต่พ่อแม่หลายคนอาจจะไม่ทราบว่า ในช่วงที่ลูกของเรามีอายุยังไม่ถึง 6 เดือนแรก ระบบการทำงานของไต และตับของลูก ซึ่งทำหน้าที่ในการกรองสารพิษต่างๆ ยังทำงานได้ไม่ดี หากลูกของเราได้รับอาหารที่มีการปนเปื้อนสารพิษ (จากยาฆ่าแมลง, สารเคมีต่างๆ ในผัก, สารเร่งเนื้อแดงในเนื้อสัตว์ รวมถึง ฮอร์โมนต่างๆ ที่ผสมเข้าไปในอาหารสัตว์) ทำให้ร่างกายของลูกไม่สามารถขับสารพิษเหล่านั้นออกมาได้ ทำให้ร่างกายสะสมสารพิษและกลายเป็นโรคแพ้อาหารบางชนิดทันที

อาจจะมีบางคนแย้งว่าในสมัยโบราณก็เลี้ยงกันแบบนี้ ไม่เห็นจะมีใครเป็นอะไรเลย แต่ในปัจจุบันจะเห็นได้ว่า เด็กที่เกิดในยุคหลังๆ นี้ มักจะมีโรคแปลกๆ, โรคแพ้อาหาร, แพ้นั้นนี่โน้นเยอะมาก ก็เพราะว่าอาหารในปัจจุบัน ไม่ได้สะอาดเหมือนสมัยก่อน ซึ่งสมัยก่อนนั้นยังไม่มีการใช้สารพิษหรือสารเคมีมากมายในการเพาะเลี้ยงสัตว์และการเพาะปลูกพืชเหมือนในสมัยปัจจุบัน ทำให้ปริมาณสารพิษที่ตกค้างนั้นมีมากเกินที่ร่างกายของเด็กทารก ( ซึ่งระบบการกรองสารพิษในร่างกายยังไม่เจริญเติบโตเต็มที่) ก่อให้เกิดการแพ้อาหาร และเป็นโรคต่างๆ ตามมา

ในปัจจุบันในทางการแพทย์ได้ยืนยันแล้วว่า ทารกในวัยแรกเกิดจนถึงอายุ 6 เดือนแรก ไม่มีความจำเป็นต้องกินหรือดื่มอะไรนอกจากการกินนมแม่เท่านั้น (แม้แต่น้ำเปล่าก็ไม่จำเป็น) ซึ่งสารอาหารในนมแม่นั้นมีมากพอ และยังมีภูมิคุ้มกันโรคต่างๆ ที่ส่งต่อจากแม่ผ่านไปยังลูกได้อีกด้วย ดังนั้นหากจะเลือกอาหาร ก็ควรจะเลือกอาหารที่คุณแม่จะกินในแต่ละมื้อมากกว่า

สิ่งหนึ่งที่พ่อแม่สมัยใหม่ควรให้ความใส่ใจคือ น้ำดื่ม, อาหาร, ผักและผลไม้ ในยุคปัจจุบันนี้ มีสารพิษปนเปื้อนมาก การจะทานอาหารหรือดื่มอะไรก็ตาม ล้วนส่งผลโดยตรงต่อร่างกายทั้งสิ้น หากคุณแม่กำลังให้นมลูกอยู่ ด้วย ยิ่งต้องให้ความใส่ใจมากเป็นพิเศษ เพื่อให้ร่างกายของคุณแม่แข็งแรงและมีน้ำนมให้มากพอ ดังนั้นหากจะให้ลูกได้กินอาหารเสริมอื่นๆ ก็ควรจะรอให้ลูกมีอายุเกิน 6 เดือนไปก่อน

เล่นกับลูกให้บ่อยๆ ลูกจะฉลาดกว่าจริงเหรอ

การเล่นกับลูกตั้งแต่ลูกยังเป็นแค่ทารกแรก เกิดจนถึงอายุ 3 ขวบนั้น สามารถทำให้ลูกของเรามีพัฒนาการทางด้านสมอง ร่างกาย และจิตใจดีกว่าเด็กคนอื่นๆ ที่ไม่ได้เล่นกับพ่อแม่ ซึ่งการเล่นกับลูกนั้น ไม่จำเป็นต้องมีของเล่นราคาแพงๆ ใดๆ เลย แค่การร้องเพลง การ เต้นระบำ การนอนซบ พูดคุย ดอมดม ฯลฯ กับลูกบ่อยๆ ลูกของเราก็จะโตขึ้นเป็นเด็กที่อารมย์ดี ฉลาดกว่า และมีพัฒนาการในทุกๆ ด้านที่ดีกว่าเด็กทั่วๆ ไปได้


เล่นกับลูกแล้วลูกฉลาดขึ้นได้อย่างไร
พ่อแม่ต้องทำความเข้าใจเรื่องการทำงานของสมองของลูกก่อนนะค่ะ ในช่วงที่ลูกของเรายังเป็นทารกแรกเกิด – 3 ขวบนั้น ระบบต่างๆ ในร่างกายของลูกจะมีการพัฒนาแบบก้าวกระโดดมากกว่าเด็กที่มีอายุมากกว่า 3 ขวบขึ้นไป โดยเฉพาะสมอง ซึ่งจะสร้างเซลล์ประสาทได้มากกว่า 2 เท่าเมื่อเทียบกับสมองของผู้ใหญ่ ซึ่งเซลล์ประสาทเหล่านี้จะเชื่อมต่อถึงกันอย่างแนบแน่นถาวร โดยจะมีผลต่อการควบคุมการเต้นของหัวใจ การหายใจ ปฏิกิริยาอัตโนมัติต่างๆ รวมถึงประสาทสัมผัสด้านอื่นๆ ซึ่งเซลล์ประสาทเหล่านี้จะมีการเชื่อมต่อกันได้ผ่านการเรียนรู้ การปฏิบัติซ้ำๆ และการกระตุ้นต่างๆ จากผู้เลี้ยงดู ดังนั้นหากในช่วงแรกเกิดจนถึง 3 ขวบ ลูกของเราได้รับ การพัฒนาและเรียนรู้อย่างถูกต้องผ่านการทำซ้ำ หรือการเล่นที่ถูกต้อง (เน้นกระตุ้นประสาทสัมผัสของลูก) จะทำให้เซลล์ประสาทมีการพัฒนาได้อย่างรวดเร็ว

แล้วถ้าเราไม่ค่อยได้เล่นกับลูก จะมีผลกระทบอย่างไร
ยกตัวอย่างระหว่างการเลี้ยงเด็กที่พ่อแม่พูดคุยกับลูกอยู่เสมอ อ่านหนังสือให้ลูกฟังตั้งแต่เล็กๆ เมื่อเทียบกับเด็กที่พ่อแม่ไม่ค่อยพูดกับลูก ไม่อ่านหนังสือให้ลูกฟัง เซลล์ประสาทในด้านการรับรู้ด้านภาษาของเด็ก 2 คนนี้ เมื่อโตขึ้นจะแตกต่างกัน เด็กที่เติบโตมาโดยที่พ่อแม่พูดคุยกับลูกอยู่เสมอ จะสามารถใช้ทักษะทางด้านภาษาได้ดีกว่า หรืออีกกรณี เด็กที่เติบโตมาโดยมีคนเล่นด้วยอยู่เสมอ กับเด็กที่ไม่ค่อยได้เล่นกับใคร เมื่อเติบโตขึ้นมา เด็กที่เล่นกับคนอื่นอยู่เสมอๆ จะสามารถปรับตัวเข้ากับคนอื่นได้ง่ายกว่า

เล่นกับลูกอย่างไรถึงจะดี
วิธีที่ดีที่สุดที่จะพัฒนาเซลล์ประสาทในสมองของลูก คือการให้ในสิ่งที่ลูกต้องการในแต่ละช่วงอายุ ควรเริ่มเตรียมตัวตั้งแต่จิตใจที่อ่อนโยนของพ่อแม่และผู้เลี้ยงดู สภาพแวดล้อมต่างๆ ที่อบอุ่นและปลอดภัย การเล่นกับ ลูกที่ใส่ใจและเฝ้าสังเกตว่าลูกพร้อมที่จะเล่นหรือยัง (เพราะบางครั้งลูกก็เหนื่อยเกินไปที่จะเล่นแล้ว) โดยอาจจะสังเกตจากอาการตอบรับของลูก เช่น

การพูดอ้อแอ้ตอบกลับของลูก
การจ้องมองของลูกกลับมาที่ตัวเราหรือของเล่นนั้นๆ
การหัวเราะ, การยิ้ม ของลูก เวลาที่เราเล่นกับเขา (หากลูกรู้สึกสนุก รู้สึกชอบ ลูกจะยิ้ม จะหัวเราะ)
การหันมอง หันหน้ามองตาม สิ่งของที่เคลื่อนไหว (หากลูกไม่สนใจการเคลื่อนไหวของสิ่งของนั้นๆ แล้ว แสดงว่าลูกอาจจะเหนื่อย ควรให้ลูกได้นอนพัก)

มาเตรียมอุปกรณ์ในห้องนอนลูกดีกว่าค่ะ

การนอนหลับเป็นการพักผ่อนร่างกายที่ดีที่สุด ซึ่งเด็กทารกแรกเกิดนั้นจะ นอนหลับเฉลี่ยประมาณ 16 ชั่วโมงต่อวัน โดยอาจจะตื่นขึ้นมาเพื่อกินนม เล่นนิดหน่อย และก็หลับ ดังนั้นช่วงเวลาที่ลูกนอนหลับ (ซึ่งเป็นส่วนใหญ่ของวัน) เราจึงควรเตรียมที่นอน เตียง และอุปกรณ์อื่นๆ ให้เหมาะสมกับลูก ของเรามากที่สุด วันนี้เรามีคำแนะนำการเลือกใช้ เลือกซื้อ หรือการจัดหาอุปกรณ์ต่างๆ มาฝากค่ะ

เตียงนอนของลูก

ในปัจจุบันยังไม่มีคำแนะนำแบบเจาะจงว่า เราจะต้องให้ลูกไปนอนบนเตียงของเขา (ซื้อเตียงให้ลูกเลยทันที) แต่ผู้รู้หลายๆ ท่านก็แนะนำว่า การให้ลูกนอนแยกจากเตียงของพ่อแม่มีข้อดีหลายๆ อย่าง เช่น
  1. ป้องกันการนอนทับของตัวพ่อแม่เอง
  2. การขยับตัวหรือพลิกตัวของพ่อแม่ (เวลานอนหลับบนเตียงเดียวกับลูก) อาจจะทำให้ลูกตื่นกลางดึก
  3. ต้องการฝึกให้ลูกชินกับที่เตียงของตัวเอง
หากพ่อแม่ท่านไหนคิดว่า อยากจะให้ลูกนอนแยกเตียงกับตัวพ่อแม่ ก็มีอุปกรณ์ให้เลือกมากมาย เช่น
ตะกร้าเด็กตะกร้าเด็กใช้ได้ตั้งแต่ทารกแรกเกิดจนถึงอายุ 3-4 เดือน ข้อดีคือสามารถพาไปไหนมาไหนได้ง่าย แต่เมื่อลูกโตขึ้น ก็ต้องเปลี่ยนอยู่ดี เพราะว่าลูกจะตัวใหญ่เกินกว่าจะให้นอนในตระกร้าได้
เปลเหมาะสำหรับเด็กทารกแรกเกิดจนถึงอายุประมาณ 6 เดือน ซึ่งเปลนี้อาจจะดัดแปลงจากอุปกรณ์หลากหลายได้ หลายๆ ท่านอาจจะเคยเห็นภูมิปัญญาชาวบ้านแบบสมัยก่อนที่เอาผ้ามาดัดแปลงเป็นเปลไกวเด็ก แต่เมื่อ เด็กอายุมากขึ้น ก็ต้องเปลี่ยนเปลอีกเช่นกัน
เตียงนอนสำหรับเด็กเตียงสำหรับเด็ก เตียงสำหรับเด็กมีทั้งแบบที่มีราวกั้นกันตกด้านข้างของเตียง (ราวกั้นถาวร) หรือแบบที่สามารถถอดราวกั้นออกได้ ซึ่งแต่ละแบบนั้นก็มีหลากหลายวัสดุแตกต่างกันไปอีก ซึ่งสามารถใช้ได้กับทารกแรกเกิด จนถึงอายุ 5-6 ขวบ ซึ่งก็ถือว่าเป็นการลงทุนซื้อที่ค่อนข้างใช้ได้นานพอสมควร แต่ต้องเลือกวัสดุประกอบที่ดีหน่อย เช่น สีที่ใช้ทาอุปกรณ์ของเตียงต้องไม่มีสารตะกั่ว, มีพลาสติกหุ้มราวกั้นด้านข้างเตียง (เผื่อลูกเรากัดเวลา ที่ลูกเราคันเหงือก) เป็นต้น
เตียงนอนแบบผู้ใหญ่ดัดแปลงสำหรับเด็กเตียงผู้ใหญ่ที่ดัดแปลงสำหรับเด็ก เตียงแบบนี้สามารถใช้ได้ตั้งแต่แรกเกิดจนโตเป็นผู้ใหญ่ ซึ่งเราสามารถนำเตียงผู้ใหญ่ (ขนาดนอน 1 คน) มาดัดแปลงให้เป็นเตียงของลูกได้ โดยติดตั้งราวกั้นกันตก ซึ่งตรงจุดนี้อาจจะ ต้องจ้างช่างเฟอร์นิเจอร์มาทำเพิ่ม เตียงแบบนี้จะคุ้มค่าที่สุดในระยะยาวเพราะเราสามารถถอดราวกั้นเตียงออกเมื่อลูกโต
ทั้งนี้ทั้งนั้น จะเลือกเตียงแบบใดก็ขึ้นอยู่กับสภาวะการณ์ของแต่ละครอบครัวด้วย เพราะบางครอบครัวอาจจะไม่มีพื้นที่พอจะให้ลูกนอนบนเตียงขนาดใหญ่ ดังนั้นก็ต้องเลือกปรับใช้ให้เหมาะสมกันแต่ละครอบครัวอีกครั้ง นะค่ะ
ที่นอนของลูกที่นอนของลูก บางครอบครัวก็เลือกที่จะให้ลูกนอนบนเบาะ (ซึ่งโดยมากจะทำจากฟองน้ำ หรือวัสดุอื่นที่มีความอ่อนนิ่มมากๆ) ซึ่งจะมีความนุ่ม และอาจจะเกิดอันตรายหากลูกของเรายังเล็ก เพราะหากลูกของเรานอนดิ้น แล้วหน้าไปกดกับที่นอน ที่นอนจะบุ๋มและทำให้หน้าของลูกจมลงไป ทำให้หายใจไม่ออกและเสียชีวิตได้
เราควรจะเลือกที่นอนของลูกให้มีความแข็งสักหน่อย ซึ่งจะนิยมวัสดุอยู่ 2 แบบสำหรับที่นอนของลูก คือ โฟมและสปริง ซึ่งโฟมจะมีน้ำหนักเบากว่าและราคาถูกกว่าที่นอนแบบสปริงค่อนข้างมาก แต่ข้อเสียของที่นอน แบบโฟมคือมักจะเป็นที่นอนที่นิ่ม (ซึ่งก็อาจจะทำให้ลูกหายใจไม่ออก หากลูกเผลอนอนหน้าคว่ำลงไปบนที่นอน)
ส่วนที่นอนแบบสปริงนั้น หากเราเลือกแบบที่มีขดสปริง 150 เกลียวขึ้นไป ก็จะสามารถป้องกันอุบัติเหตุเวลาลูกเผลอนอนแล้วเอาหน้าคว่ำลงไปบนที่นอนได้ เพราะที่นอนสปริงที่มีขด 150 เกลียวขึ้นไปจะมีความแข็ง มากพอ และยังมีอายุการใช้งานได้นานกว่าที่นอนแบบโฟม (ซื้อครั้งเดียว ใช้ได้หลายปี) แต่สิ่งที่เราจะต้องคำนึงเพิ่มเติมด้วยคือ ที่อนนที่เราจะซื้อนั้นจะต้องทำความสะอาดได้ง่าย, ไม่อับ และหากสามารถใส่ (หรือมี) ผ้าหุ้ม กันปัสสาวะซึมเข้าที่ตัวที่นอนได้ก็จะดีมาก เพราะเวลาลูกนอน (ทั้งนอนเล่นและนอนหลับบนเตียง) ก็อาจจะปัสสาวะรดที่นอนได้

ผ้าปูที่นอน

กรณีที่เราเลือกให้ลูกนอนบนที่นอน ก็ควรจะหาผ้าปูที่นอนที่ทอจากวัสดุธรรมชาติ เช่น ผ้าฝ้าย ซึ่งจะมีคุณสมบัตินุ่มและไม่ระคายเคืองต่อผิวของลูก และยังทำความสะอาดได้ง่ายอีกด้วย
ผ้ายาง
มีประโยชน์มาก เพราะสามารถกันน้ำได้ หลายครอบครัวจะนำผ้ายางมาปูบนผ้าปูที่นอนก่อน แล้วหาผ้าบางๆ มาปูทับผ้ายาง แล้วค่อยให้ลูกนอนอีกทีเพื่อป้องกันปัสสาวะหรือน้ำอื่นๆ ที่อาจจะเปื้อนลงที่นอน แต่ข้อเสีย ของผ้ายางคือ มันอาจจะทำให้ลูกร้อน เพราะว่าผ้ายางจะดูดซับความร้อนได้ดี
ดังนั้นหากกังวลกลัวว่าลูกจะร้อน ก็ใช้เป็นผ้ากำมะหยี่แบบซับน้ำทดแทนผ้ายางก็ได้เช่นกัน เพราะเนื้อกำมะหยี่จะนุ่ม มีรูระบายอากาศ ทำให้ไม่ร้อนและไม่อับ ลูกจะนอนหลับสบายตัวมากกว่านอนบนผ้ายาง (หากจะเลือก ใช้ผ้ากำมะหยี่แบบซับน้ำ ควรเลือกขนาดผ้าให้ใหญ่หน่อยเผื่อลูกนอนดิ้นนะค่ะ)
ผ้าห่ม
ผ้าห่มสำหรับเด็กแรกเกิดเนื่องจากว่าลูกของเรายังเล็ก ยิ่งถ้าเป็นทารกแรกเกิด การจะห่มผ้าให้ลูกนั้น ไม่จำเป็นต้องใช้ผ้าห่มแบบผู้ใหญ่ แต่ควรจะหาผ้าชนิดบาง เพราะหากเป็นผ้าที่หนาเวลาลูกนอนหลับอาจจะทำให้ผ้ามา ปิดหน้าลูกจนหายใจไม่ออก
นอกจากนั้นพ่อแม่ก็ควรที่จะเตรียมห้องนอน (หรือสถานที่ที่จะให้ลูกนอน) ให้เหมาะสมทั้งอุณหภูมิ และแสงสว่าง โดยอุณหภูมิที่เหมาะสมสำหรับการนอนหลับสบายก็คือ 25 องศาเซลเซียส และควรจะมีแสงสว่างเล็ก น้อย โดยอาจจะใช้ไฟสีส้ม หรือหลอดไฟขนาดเล็กที่มีกำลังไฟ (โวลต์ต่ำๆ) ไม่มาก เพื่อให้ลูกนอนหลับสบาย ซึ่งแสงสว่างนั้นแค่พอมองเห็นตอนกลางคืนนิดหน่อยสำหรับการเปลี่ยนผ้าอ้อมหรือให้นมลูกตอนดึกๆ ก็เพียง พอแล้วค่ะ

มาเตรียมอุปกรณ์ในห้องนอนลูกดีกว่าค่ะ

การนอนหลับเป็นการพักผ่อนร่างกายที่ดีที่สุด ซึ่งเด็กทารกแรกเกิดนั้นจะ นอนหลับเฉลี่ยประมาณ 16 ชั่วโมงต่อวัน โดยอาจจะตื่นขึ้นมาเพื่อกินนม เล่นนิดหน่อย และก็หลับ ดังนั้นช่วงเวลาที่ลูกนอนหลับ (ซึ่งเป็นส่วนใหญ่ของวัน) เราจึงควรเตรียมที่นอน เตียง และอุปกรณ์อื่นๆ ให้เหมาะสมกับลูก ของเรามากที่สุด วันนี้เรามีคำแนะนำการเลือกใช้ เลือกซื้อ หรือการจัดหาอุปกรณ์ต่างๆ มาฝากค่ะ

เตียงนอนของลูก

ในปัจจุบันยังไม่มีคำแนะนำแบบเจาะจงว่า เราจะต้องให้ลูกไปนอนบนเตียงของเขา (ซื้อเตียงให้ลูกเลยทันที) แต่ผู้รู้หลายๆ ท่านก็แนะนำว่า การให้ลูกนอนแยกจากเตียงของพ่อแม่มีข้อดีหลายๆ อย่าง เช่น
  1. ป้องกันการนอนทับของตัวพ่อแม่เอง
  2. การขยับตัวหรือพลิกตัวของพ่อแม่ (เวลานอนหลับบนเตียงเดียวกับลูก) อาจจะทำให้ลูกตื่นกลางดึก
  3. ต้องการฝึกให้ลูกชินกับที่เตียงของตัวเอง
หากพ่อแม่ท่านไหนคิดว่า อยากจะให้ลูกนอนแยกเตียงกับตัวพ่อแม่ ก็มีอุปกรณ์ให้เลือกมากมาย เช่น
ตะกร้าเด็กตะกร้าเด็กใช้ได้ตั้งแต่ทารกแรกเกิดจนถึงอายุ 3-4 เดือน ข้อดีคือสามารถพาไปไหนมาไหนได้ง่าย แต่เมื่อลูกโตขึ้น ก็ต้องเปลี่ยนอยู่ดี เพราะว่าลูกจะตัวใหญ่เกินกว่าจะให้นอนในตระกร้าได้
เปลเหมาะสำหรับเด็กทารกแรกเกิดจนถึงอายุประมาณ 6 เดือน ซึ่งเปลนี้อาจจะดัดแปลงจากอุปกรณ์หลากหลายได้ หลายๆ ท่านอาจจะเคยเห็นภูมิปัญญาชาวบ้านแบบสมัยก่อนที่เอาผ้ามาดัดแปลงเป็นเปลไกวเด็ก แต่เมื่อ เด็กอายุมากขึ้น ก็ต้องเปลี่ยนเปลอีกเช่นกัน
เตียงนอนสำหรับเด็กเตียงสำหรับเด็ก เตียงสำหรับเด็กมีทั้งแบบที่มีราวกั้นกันตกด้านข้างของเตียง (ราวกั้นถาวร) หรือแบบที่สามารถถอดราวกั้นออกได้ ซึ่งแต่ละแบบนั้นก็มีหลากหลายวัสดุแตกต่างกันไปอีก ซึ่งสามารถใช้ได้กับทารกแรกเกิด จนถึงอายุ 5-6 ขวบ ซึ่งก็ถือว่าเป็นการลงทุนซื้อที่ค่อนข้างใช้ได้นานพอสมควร แต่ต้องเลือกวัสดุประกอบที่ดีหน่อย เช่น สีที่ใช้ทาอุปกรณ์ของเตียงต้องไม่มีสารตะกั่ว, มีพลาสติกหุ้มราวกั้นด้านข้างเตียง (เผื่อลูกเรากัดเวลา ที่ลูกเราคันเหงือก) เป็นต้น
เตียงนอนแบบผู้ใหญ่ดัดแปลงสำหรับเด็กเตียงผู้ใหญ่ที่ดัดแปลงสำหรับเด็ก เตียงแบบนี้สามารถใช้ได้ตั้งแต่แรกเกิดจนโตเป็นผู้ใหญ่ ซึ่งเราสามารถนำเตียงผู้ใหญ่ (ขนาดนอน 1 คน) มาดัดแปลงให้เป็นเตียงของลูกได้ โดยติดตั้งราวกั้นกันตก ซึ่งตรงจุดนี้อาจจะ ต้องจ้างช่างเฟอร์นิเจอร์มาทำเพิ่ม เตียงแบบนี้จะคุ้มค่าที่สุดในระยะยาวเพราะเราสามารถถอดราวกั้นเตียงออกเมื่อลูกโต
ทั้งนี้ทั้งนั้น จะเลือกเตียงแบบใดก็ขึ้นอยู่กับสภาวะการณ์ของแต่ละครอบครัวด้วย เพราะบางครอบครัวอาจจะไม่มีพื้นที่พอจะให้ลูกนอนบนเตียงขนาดใหญ่ ดังนั้นก็ต้องเลือกปรับใช้ให้เหมาะสมกันแต่ละครอบครัวอีกครั้ง นะค่ะ
ที่นอนของลูกที่นอนของลูก บางครอบครัวก็เลือกที่จะให้ลูกนอนบนเบาะ (ซึ่งโดยมากจะทำจากฟองน้ำ หรือวัสดุอื่นที่มีความอ่อนนิ่มมากๆ) ซึ่งจะมีความนุ่ม และอาจจะเกิดอันตรายหากลูกของเรายังเล็ก เพราะหากลูกของเรานอนดิ้น แล้วหน้าไปกดกับที่นอน ที่นอนจะบุ๋มและทำให้หน้าของลูกจมลงไป ทำให้หายใจไม่ออกและเสียชีวิตได้
เราควรจะเลือกที่นอนของลูกให้มีความแข็งสักหน่อย ซึ่งจะนิยมวัสดุอยู่ 2 แบบสำหรับที่นอนของลูก คือ โฟมและสปริง ซึ่งโฟมจะมีน้ำหนักเบากว่าและราคาถูกกว่าที่นอนแบบสปริงค่อนข้างมาก แต่ข้อเสียของที่นอน แบบโฟมคือมักจะเป็นที่นอนที่นิ่ม (ซึ่งก็อาจจะทำให้ลูกหายใจไม่ออก หากลูกเผลอนอนหน้าคว่ำลงไปบนที่นอน)
ส่วนที่นอนแบบสปริงนั้น หากเราเลือกแบบที่มีขดสปริง 150 เกลียวขึ้นไป ก็จะสามารถป้องกันอุบัติเหตุเวลาลูกเผลอนอนแล้วเอาหน้าคว่ำลงไปบนที่นอนได้ เพราะที่นอนสปริงที่มีขด 150 เกลียวขึ้นไปจะมีความแข็ง มากพอ และยังมีอายุการใช้งานได้นานกว่าที่นอนแบบโฟม (ซื้อครั้งเดียว ใช้ได้หลายปี) แต่สิ่งที่เราจะต้องคำนึงเพิ่มเติมด้วยคือ ที่อนนที่เราจะซื้อนั้นจะต้องทำความสะอาดได้ง่าย, ไม่อับ และหากสามารถใส่ (หรือมี) ผ้าหุ้ม กันปัสสาวะซึมเข้าที่ตัวที่นอนได้ก็จะดีมาก เพราะเวลาลูกนอน (ทั้งนอนเล่นและนอนหลับบนเตียง) ก็อาจจะปัสสาวะรดที่นอนได้

ผ้าปูที่นอน

กรณีที่เราเลือกให้ลูกนอนบนที่นอน ก็ควรจะหาผ้าปูที่นอนที่ทอจากวัสดุธรรมชาติ เช่น ผ้าฝ้าย ซึ่งจะมีคุณสมบัตินุ่มและไม่ระคายเคืองต่อผิวของลูก และยังทำความสะอาดได้ง่ายอีกด้วย
ผ้ายาง
มีประโยชน์มาก เพราะสามารถกันน้ำได้ หลายครอบครัวจะนำผ้ายางมาปูบนผ้าปูที่นอนก่อน แล้วหาผ้าบางๆ มาปูทับผ้ายาง แล้วค่อยให้ลูกนอนอีกทีเพื่อป้องกันปัสสาวะหรือน้ำอื่นๆ ที่อาจจะเปื้อนลงที่นอน แต่ข้อเสีย ของผ้ายางคือ มันอาจจะทำให้ลูกร้อน เพราะว่าผ้ายางจะดูดซับความร้อนได้ดี
ดังนั้นหากกังวลกลัวว่าลูกจะร้อน ก็ใช้เป็นผ้ากำมะหยี่แบบซับน้ำทดแทนผ้ายางก็ได้เช่นกัน เพราะเนื้อกำมะหยี่จะนุ่ม มีรูระบายอากาศ ทำให้ไม่ร้อนและไม่อับ ลูกจะนอนหลับสบายตัวมากกว่านอนบนผ้ายาง (หากจะเลือก ใช้ผ้ากำมะหยี่แบบซับน้ำ ควรเลือกขนาดผ้าให้ใหญ่หน่อยเผื่อลูกนอนดิ้นนะค่ะ)
ผ้าห่ม
ผ้าห่มสำหรับเด็กแรกเกิดเนื่องจากว่าลูกของเรายังเล็ก ยิ่งถ้าเป็นทารกแรกเกิด การจะห่มผ้าให้ลูกนั้น ไม่จำเป็นต้องใช้ผ้าห่มแบบผู้ใหญ่ แต่ควรจะหาผ้าชนิดบาง เพราะหากเป็นผ้าที่หนาเวลาลูกนอนหลับอาจจะทำให้ผ้ามา ปิดหน้าลูกจนหายใจไม่ออก
นอกจากนั้นพ่อแม่ก็ควรที่จะเตรียมห้องนอน (หรือสถานที่ที่จะให้ลูกนอน) ให้เหมาะสมทั้งอุณหภูมิ และแสงสว่าง โดยอุณหภูมิที่เหมาะสมสำหรับการนอนหลับสบายก็คือ 25 องศาเซลเซียส และควรจะมีแสงสว่างเล็ก น้อย โดยอาจจะใช้ไฟสีส้ม หรือหลอดไฟขนาดเล็กที่มีกำลังไฟ (โวลต์ต่ำๆ) ไม่มาก เพื่อให้ลูกนอนหลับสบาย ซึ่งแสงสว่างนั้นแค่พอมองเห็นตอนกลางคืนนิดหน่อยสำหรับการเปลี่ยนผ้าอ้อมหรือให้นมลูกตอนดึกๆ ก็เพียง พอแล้วค่ะ

เล่นกับลูกให้บ่อยๆ ลูกจะฉลาดกว่าจริงเหรอ

การเล่นกับลูกตั้งแต่ลูกยังเป็นแค่ทารกแรก เกิดจนถึงอายุ 3 ขวบนั้น สามารถทำให้ลูกของเรามีพัฒนาการทางด้านสมอง ร่างกาย และจิตใจดีกว่าเด็กคนอื่นๆ ที่ไม่ได้เล่นกับพ่อแม่ ซึ่งการเล่นกับลูกนั้น ไม่จำเป็นต้องมีของเล่นราคาแพงๆ ใดๆ เลย แค่การร้องเพลง การ เต้นระบำ การนอนซบ พูดคุย ดอมดม ฯลฯ กับลูกบ่อยๆ ลูกของเราก็จะโตขึ้นเป็นเด็กที่อารมย์ดี ฉลาดกว่า และมีพัฒนาการในทุกๆ ด้านที่ดีกว่าเด็กทั่วๆ ไปได้


เล่นกับลูกแล้วลูกฉลาดขึ้นได้อย่างไร
พ่อแม่ต้องทำความเข้าใจเรื่องการทำงานของสมองของลูกก่อนนะค่ะ ในช่วงที่ลูกของเรายังเป็นทารกแรกเกิด – 3 ขวบนั้น ระบบต่างๆ ในร่างกายของลูกจะมีการพัฒนาแบบก้าวกระโดดมากกว่าเด็กที่มีอายุมากกว่า 3 ขวบขึ้นไป โดยเฉพาะสมอง ซึ่งจะสร้างเซลล์ประสาทได้มากกว่า 2 เท่าเมื่อเทียบกับสมองของผู้ใหญ่ ซึ่งเซลล์ประสาทเหล่านี้จะเชื่อมต่อถึงกันอย่างแนบแน่นถาวร โดยจะมีผลต่อการควบคุมการเต้นของหัวใจ การหายใจ ปฏิกิริยาอัตโนมัติต่างๆ รวมถึงประสาทสัมผัสด้านอื่นๆ ซึ่งเซลล์ประสาทเหล่านี้จะมีการเชื่อมต่อกันได้ผ่านการเรียนรู้ การปฏิบัติซ้ำๆ และการกระตุ้นต่างๆ จากผู้เลี้ยงดู ดังนั้นหากในช่วงแรกเกิดจนถึง 3 ขวบ ลูกของเราได้รับ การพัฒนาและเรียนรู้อย่างถูกต้องผ่านการทำซ้ำ หรือการเล่นที่ถูกต้อง (เน้นกระตุ้นประสาทสัมผัสของลูก) จะทำให้เซลล์ประสาทมีการพัฒนาได้อย่างรวดเร็ว

แล้วถ้าเราไม่ค่อยได้เล่นกับลูก จะมีผลกระทบอย่างไร
ยกตัวอย่างระหว่างการเลี้ยงเด็กที่พ่อแม่พูดคุยกับลูกอยู่เสมอ อ่านหนังสือให้ลูกฟังตั้งแต่เล็กๆ เมื่อเทียบกับเด็กที่พ่อแม่ไม่ค่อยพูดกับลูก ไม่อ่านหนังสือให้ลูกฟัง เซลล์ประสาทในด้านการรับรู้ด้านภาษาของเด็ก 2 คนนี้ เมื่อโตขึ้นจะแตกต่างกัน เด็กที่เติบโตมาโดยที่พ่อแม่พูดคุยกับลูกอยู่เสมอ จะสามารถใช้ทักษะทางด้านภาษาได้ดีกว่า หรืออีกกรณี เด็กที่เติบโตมาโดยมีคนเล่นด้วยอยู่เสมอ กับเด็กที่ไม่ค่อยได้เล่นกับใคร เมื่อเติบโตขึ้นมา เด็กที่เล่นกับคนอื่นอยู่เสมอๆ จะสามารถปรับตัวเข้ากับคนอื่นได้ง่ายกว่า

เล่นกับลูกอย่างไรถึงจะดี
วิธีที่ดีที่สุดที่จะพัฒนาเซลล์ประสาทในสมองของลูก คือการให้ในสิ่งที่ลูกต้องการในแต่ละช่วงอายุ ควรเริ่มเตรียมตัวตั้งแต่จิตใจที่อ่อนโยนของพ่อแม่และผู้เลี้ยงดู สภาพแวดล้อมต่างๆ ที่อบอุ่นและปลอดภัย การเล่นกับ ลูกที่ใส่ใจและเฝ้าสังเกตว่าลูกพร้อมที่จะเล่นหรือยัง (เพราะบางครั้งลูกก็เหนื่อยเกินไปที่จะเล่นแล้ว) โดยอาจจะสังเกตจากอาการตอบรับของลูก เช่น

การพูดอ้อแอ้ตอบกลับของลูก
การจ้องมองของลูกกลับมาที่ตัวเราหรือของเล่นนั้นๆ
การหัวเราะ, การยิ้ม ของลูก เวลาที่เราเล่นกับเขา (หากลูกรู้สึกสนุก รู้สึกชอบ ลูกจะยิ้ม จะหัวเราะ)
การหันมอง หันหน้ามองตาม สิ่งของที่เคลื่อนไหว (หากลูกไม่สนใจการเคลื่อนไหวของสิ่งของนั้นๆ แล้ว แสดงว่าลูกอาจจะเหนื่อย ควรให้ลูกได้นอนพัก)

มาเตรียมอุปกรณ์สำหรับอาบน้ำให้ลูกดีกว่าค่ะ

การอาบน้ำให้ลูกถือเป็นความสุขของพ่อแม่ แต่ก็ต้องใช้ความระมัดระวังใน การอาบน้ำให้มาก ยิ่งลูกยังเป็นแค่ทารกแรกเกิด การจะอาบน้ำให้ลูกนั้นพ่อแม่หลายคนก็กลัว (เพราะลูกยังตัวเล็กมา คอก็ยังไม่แข็ง) ดังนั้นพ่อแม่ควรจะเตรียมอุปกรณ์ให้พร้อม เวลาอาบน้ำให้ลูกจะได้หยิบจับใช้อุปกรณ์ต่างๆ ได้อย่างครบถ้วน

อ่างอาบน้ำ

อ่างอาบน้ำสำหรับเด็กทารกอ่างอาบน้ำสำหรับเด็กนั้นมีให้เลือกหลายแบบ ทั้งอ่างอาบน้ำขนาดเล็กและขนาดใหญ่ ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับความเหมาะสม เช่น อ่างอาบน้ำขนาดเล็กจะเหมาะกับทารกแรกเกิดจนถึงอายุประมาณ 1 ขวบ (บางแบบก็สามารถใช้ได้จนลูกอายุ 2-3 ปี) ซึ่งพ่อแม่ควรจะพิจารณาวัสดุที่แข็งแรง
อ่างอาบน้ำมีให้เลือกหลากหลายรูปแบบ ทั้งแบบที่มีขาตั้ง ซึ่งพ่อแม่จะสะดวกในการอุ้มลูกอาบน้ำ หรือหากที่บ้านมีอ่างอาบน้ำสำหรับผู้ใหญ่แล้วก็สามารถให้ลูกอาบน้ำในอ่างผู้ใหญ่ก็ได้ แต่แนะนำว่าลูกควรจะมีอายุ 6 เดือนขึ้นไป หรือลูกเริ่มนั่งเองได้ โดยใช้น้ำไม่เยอะมาก ให้ลูกนั่งในอ่าง แล้วเรารองน้ำจากฝักบัวอาบน้ำให้ลูกอีกทีก็สะดวกเช่นกัน

10 ข้อดีของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

นมแม่ถือว่าเป็นอาหารที่มีคุณประโยชน์สูงสุดต่อตัวลูกของเรา และตัวของคุณแม่เอง การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จะช่วยเติมเต็มความต้องการของลูกเราได้ทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของสารอาหาร ภูมิต้านทานโรค ความผูกพันระหว่างแม่และลูก ข้อดีของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่มีหลายข้อ วันนี้จะขอยกตัวอย่างข้อดีมาสัก 10 อย่างค่ะ


ข้อดีของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
นมแม่เป็นสารอาหารที่มาจากธรรมชาติ ปลอดภัยต่อลูกของเราที่สุด
จะหานมอะไรที่ปลอดภัยและได้สารอาหารที่ร่างกายต้องการเทียบเท่านมแม่ไม่มีอีกแล้ว ต่อให้เทคโนโลยีของมนุษย์จะก้าวไกลไปแค่ไหน ก็ไม่อาจจะเลียนแบบนมสังเคราะห์ใดๆ หรือนมจากสัตว์อื่นๆ ที่ทั้งปลอดภัย และมีสารอาหารได้เสมอเหมือนนมแม่อีกแล้วในโลกนี้

เด็กที่เติบโตมาจากการกินนมแม่ แข็งแรงกว่าเด็กที่กินนมวัว
เพราะในน้ำนมแม่ทุกหยด กลั่นมาจากภายในร่างกายของแม่เอง ภูมิต้านทานต่างๆ ในตัวของแม่ จะถูกถ่ายทอดผ่านน้ำนม เมื่อลูกได้กินนมแม่ก็จะได้รับภูมิต้านทานต่างๆ ไปด้วย ซึ่งนมวัวหรือนมสังเคราะห์อื่นๆ จะไม่มี ภูมิต้านทาน

หมดปัญหาลูกท้องผูก
เพราะนมแม่นั้นย่อยง่าย ทำให้ลูกไม่ต้องทรมานกับอาการท้องผูก แต่หากลูกของเรากินนมวัวหรือนมประเภทอื่นจะพบปัญหาท้องผูกได้มากกว่า

หมดปัญหาเรื่องลูกอ้วนเกินไป
เคยเห็นเด็กทารกตัวอ้วนจ้ำหม้ำน่ารักใช่ไหมค่ะ แต่บ่อยครั้งเด็กแรกเกิดที่เราเห็นอ้วนจ้ำหม้ำน่ารักนั้นก็มีน้ำหนักตัวเกินมาตราฐาน สาเหตุมาจากการเลี้ยงลูกด้วยนมวัวหรือนมสังเคราะห์ชนิดอื่นๆ นั้นเอง ในขณะที่การ เลี้ยงลูกด้วยนมแม่นั้น ลูกของเราจะไม่มีปัญหาเรื่องน้ำหนักตัวเกินเลย น้ำหนักตัวของลูกจะเป็นไปตามมาตราฐานของเด็กในแต่ละวัยแบบธรรมชาติ

โอกาสเกิดผื่นผ้าอ้อมน้อยกว่า
ผื่นผ้าอ้อมเกิดจากความอับชื้น และเกิดปฏิกริยาของเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งกรณีที่เราเลี้ยงลูกด้วยนมวัวนั้น ของเสียของลูกจะมีเชื้อแบคทีเรียมากกว่า เมื่อมารวมกับความอับชื้น (จากการใส่ผ้าอ้อม) ผิวของลูกจะเกิดอาการ ผื่นแดงๆ (จึงเรียกว่าผื่นผ้าอ้อม) ซึ่งหากเราเลี้ยงลูกด้วยน้ำนมแม่ ของเสียของลูกจะมีเชื้อแบคทีเรียน้อยกว่ามาก โอกาสที่ลูกจะต้องทรมานกับอาการผื่นผ้าอ้อมก็จะลดลงด้วย

สานสัมพันธ์ระหว่างแม่และลูก
การให้ลูกได้ดูดนมจากอกแม่เอง เป็นความรู้สึกที่ยากจะอธิบาย มีแต่แม่ที่เคยให้ลูกดูดนมจากอกตัวเองเท่านั้นถึงจะบรรยายความรู้สึก ความสุขใจ ที่เกิดขึ้นในตัวของแม่คนนั้นได้เอง นอกจากนั้นตลอดเวลาที่ลูกดูดนม จากอกแม่ ลูกก็จะมองหน้าแม่ของตัวเอง ซึ่งช่วงเวลาที่ให้นมลูกนั้น เป็นช่วงเวลาที่ทรงคุณค่าที่สุด เพราะแม่ลูกจะได้สบตา ได้พูดคุย ได้แสดงความรักต่อกัน ทำให้ลูกสามารถรับรู้ได้ว่าแม่ของเขารักเขามากแค่ไหน นอก จากนั้นการที่ลูกดูดนมจากอกของแม่บ่อยๆ จะทำให้ลูกจำกลิ่น เสียง หน้าตา และสัมผัสต่างๆ ของแม่ได้เร็วกว่าเด็กที่กินนมจากขวดนม

ร่างกายของแม่จะผอมเร็วกว่า
หลังจากคลอดลูก ร่างกายของคุณแม่แม้ว่าจะน้ำหนักลงไปบ้าง แต่ระบบภายใน รวมถึงมดลูกอาจจะยังไม่เข้าที่เท่าที่ควร การเลี้ยงลูกโดยให้ลูกดูดนมแม่จากอกนั้น จะช่วยกระตุ้นร่างกายของแม่ให้หลั่งฮอร์โมนชนิดหนึ่ง (ซึ่งจะออกมาเฉพาะตอนที่ให้ลูกดูดนมแม่เท่านั้น) โดยฮอร์โมนชนิดนี้จะช่วยให้มดลูกหดตัวเข้าที่ได้อย่างรวดเร็ว นอกจากนั้นการที่ร่างกายต้องผลิตนมแม่จะช่วยเผาผลาญไขมันต่างๆ ตามหน้าท้องออกไปด้วย ทำให้รูปร่าง ของแม่ที่เพิ่งคลอดลูก กลับมาผอมเพรียวได้เร็วกว่าแม่ที่เลี้ยงลูกด้วยนมวัว โดยเฉลี่ยแล้วการที่เลี้ยงลูกเอง ให้ลูกกินนมจากอกแม่เอง น้ำหนักตัวของแม่จะลดลงเฉลี่ยเดือนละ 1-2 กิโลกรัม ซึ่งหากเราให้ลูกกินนมแม่ตลอด 6 เดือนแรกหลังคลอด น้ำหนักตัวและรูปร่างของคุณแม่ก็จะเข้ารูปและเกือบจะกลับมาเป็นปกติ

เป็นอาหารที่สะดวกที่สุดสำหรับลูกตลอด 24 ชม.
นมแม่เป็นแหล่งเติมพลังของลูกน้อยของเราที่สามารถให้ลูกกินได้ตลอด 24 ชม. เมื่อไรที่ลูกหิว เราก็สามารถให้ลูกกินนมจากอกของเราได้ทันที ไม่ต้องพกขวด น้ำร้อน นมผง ฯลฯ ให้ยุ่งยาก สะดวกและรวดเร็วทันใจ ลูกที่สุดแล้วละค่ะ

เป็นนมอุ่นๆ พร้อมดื่มได้ตลอดจากอกแม่
คุณสมบัติที่พิเศษที่หานมอื่นๆ ในโลกนี้ไม่ได้อีกแล้วนั้นคือ การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่นั้น แม่ไม่ต้องกังวลว่านมแม่นั้นจะร้อนเกินไป หรือเย็นเกินไปสำหรับลูก เพราะนมแม่ที่ออกมาจากเต้านั้น จะมีอุณหภูมิที่พอเหมาะกับ ลูกของเราทันที หากเลี้ยงลูกด้วยนมวัว เราคงต้องตรวจสอบก่อนเสมอว่านมที่ผสมนั้นจะร้อนเกินไปหรือเย็นเกินไปหรือไม่

ไม่ต้องเสียเงินค่านมแพงๆ รวมถึงอุปกรณ์อื่นๆ
ค่านมผงชนิดต่างๆ นั้น ปัจจุบันราคาถีบตัวสูงมากขึ้น ไหนจะค่าขวดนม ค่าน้ำยาล้างขวดนม อุปกรณ์ล้างขวดนม ฯลฯ ค่าใช้จ่ายเหล่านี้จะหมดไปหากเราเลี้ยงลูกด้วยน้ำนมแม่ เพราะนมแม่กลั่นมาจากร่างกายของแม่เอง ไม่ต้องใช้อุปกรณ์เสริมใดๆ อีก

นมแม่จะมีมากหรือน้อย จะมีภูมิต้านทานมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับอาหาร การพักผ่อน และอารมณ์ของแม่เป็นหลัก หากคุณแม่ดูแลร่างกายอย่างดี กินอาหารที่มีประโยชน์ นอนหลับพอเพียง และบริหารอารมณ์ตัวเองให้ดี อยู่เสมอๆ ก็จะมีนมแม่มากพอให้ลูกของเรากินแน่นอนค่ะ จะเห็นว่านมแม่นั้นปลอดภัยกับลูกของเราที่สุดในโลกและยังมีข้อดีอีกตั้งหลายอย่าง แล้วอย่างนี้จะเลี้ยงลูกด้วยนมอื่นๆ อีกเหรอค่ะ หันมาเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ดีกว่า ค่ะ

10 ข้อดีของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

นมแม่ถือว่าเป็นอาหารที่มีคุณประโยชน์สูงสุดต่อตัวลูกของเรา และตัวของคุณแม่เอง การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จะช่วยเติมเต็มความต้องการของลูกเราได้ทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของสารอาหาร ภูมิต้านทานโรค ความผูกพันระหว่างแม่และลูก ข้อดีของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่มีหลายข้อ วันนี้จะขอยกตัวอย่างข้อดีมาสัก 10 อย่างค่ะ


ข้อดีของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
นมแม่เป็นสารอาหารที่มาจากธรรมชาติ ปลอดภัยต่อลูกของเราที่สุด
จะหานมอะไรที่ปลอดภัยและได้สารอาหารที่ร่างกายต้องการเทียบเท่านมแม่ไม่มีอีกแล้ว ต่อให้เทคโนโลยีของมนุษย์จะก้าวไกลไปแค่ไหน ก็ไม่อาจจะเลียนแบบนมสังเคราะห์ใดๆ หรือนมจากสัตว์อื่นๆ ที่ทั้งปลอดภัย และมีสารอาหารได้เสมอเหมือนนมแม่อีกแล้วในโลกนี้

เด็กที่เติบโตมาจากการกินนมแม่ แข็งแรงกว่าเด็กที่กินนมวัว
เพราะในน้ำนมแม่ทุกหยด กลั่นมาจากภายในร่างกายของแม่เอง ภูมิต้านทานต่างๆ ในตัวของแม่ จะถูกถ่ายทอดผ่านน้ำนม เมื่อลูกได้กินนมแม่ก็จะได้รับภูมิต้านทานต่างๆ ไปด้วย ซึ่งนมวัวหรือนมสังเคราะห์อื่นๆ จะไม่มี ภูมิต้านทาน

หมดปัญหาลูกท้องผูก
เพราะนมแม่นั้นย่อยง่าย ทำให้ลูกไม่ต้องทรมานกับอาการท้องผูก แต่หากลูกของเรากินนมวัวหรือนมประเภทอื่นจะพบปัญหาท้องผูกได้มากกว่า

หมดปัญหาเรื่องลูกอ้วนเกินไป
เคยเห็นเด็กทารกตัวอ้วนจ้ำหม้ำน่ารักใช่ไหมค่ะ แต่บ่อยครั้งเด็กแรกเกิดที่เราเห็นอ้วนจ้ำหม้ำน่ารักนั้นก็มีน้ำหนักตัวเกินมาตราฐาน สาเหตุมาจากการเลี้ยงลูกด้วยนมวัวหรือนมสังเคราะห์ชนิดอื่นๆ นั้นเอง ในขณะที่การ เลี้ยงลูกด้วยนมแม่นั้น ลูกของเราจะไม่มีปัญหาเรื่องน้ำหนักตัวเกินเลย น้ำหนักตัวของลูกจะเป็นไปตามมาตราฐานของเด็กในแต่ละวัยแบบธรรมชาติ

โอกาสเกิดผื่นผ้าอ้อมน้อยกว่า
ผื่นผ้าอ้อมเกิดจากความอับชื้น และเกิดปฏิกริยาของเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งกรณีที่เราเลี้ยงลูกด้วยนมวัวนั้น ของเสียของลูกจะมีเชื้อแบคทีเรียมากกว่า เมื่อมารวมกับความอับชื้น (จากการใส่ผ้าอ้อม) ผิวของลูกจะเกิดอาการ ผื่นแดงๆ (จึงเรียกว่าผื่นผ้าอ้อม) ซึ่งหากเราเลี้ยงลูกด้วยน้ำนมแม่ ของเสียของลูกจะมีเชื้อแบคทีเรียน้อยกว่ามาก โอกาสที่ลูกจะต้องทรมานกับอาการผื่นผ้าอ้อมก็จะลดลงด้วย

สานสัมพันธ์ระหว่างแม่และลูก
การให้ลูกได้ดูดนมจากอกแม่เอง เป็นความรู้สึกที่ยากจะอธิบาย มีแต่แม่ที่เคยให้ลูกดูดนมจากอกตัวเองเท่านั้นถึงจะบรรยายความรู้สึก ความสุขใจ ที่เกิดขึ้นในตัวของแม่คนนั้นได้เอง นอกจากนั้นตลอดเวลาที่ลูกดูดนม จากอกแม่ ลูกก็จะมองหน้าแม่ของตัวเอง ซึ่งช่วงเวลาที่ให้นมลูกนั้น เป็นช่วงเวลาที่ทรงคุณค่าที่สุด เพราะแม่ลูกจะได้สบตา ได้พูดคุย ได้แสดงความรักต่อกัน ทำให้ลูกสามารถรับรู้ได้ว่าแม่ของเขารักเขามากแค่ไหน นอก จากนั้นการที่ลูกดูดนมจากอกของแม่บ่อยๆ จะทำให้ลูกจำกลิ่น เสียง หน้าตา และสัมผัสต่างๆ ของแม่ได้เร็วกว่าเด็กที่กินนมจากขวดนม

ร่างกายของแม่จะผอมเร็วกว่า
หลังจากคลอดลูก ร่างกายของคุณแม่แม้ว่าจะน้ำหนักลงไปบ้าง แต่ระบบภายใน รวมถึงมดลูกอาจจะยังไม่เข้าที่เท่าที่ควร การเลี้ยงลูกโดยให้ลูกดูดนมแม่จากอกนั้น จะช่วยกระตุ้นร่างกายของแม่ให้หลั่งฮอร์โมนชนิดหนึ่ง (ซึ่งจะออกมาเฉพาะตอนที่ให้ลูกดูดนมแม่เท่านั้น) โดยฮอร์โมนชนิดนี้จะช่วยให้มดลูกหดตัวเข้าที่ได้อย่างรวดเร็ว นอกจากนั้นการที่ร่างกายต้องผลิตนมแม่จะช่วยเผาผลาญไขมันต่างๆ ตามหน้าท้องออกไปด้วย ทำให้รูปร่าง ของแม่ที่เพิ่งคลอดลูก กลับมาผอมเพรียวได้เร็วกว่าแม่ที่เลี้ยงลูกด้วยนมวัว โดยเฉลี่ยแล้วการที่เลี้ยงลูกเอง ให้ลูกกินนมจากอกแม่เอง น้ำหนักตัวของแม่จะลดลงเฉลี่ยเดือนละ 1-2 กิโลกรัม ซึ่งหากเราให้ลูกกินนมแม่ตลอด 6 เดือนแรกหลังคลอด น้ำหนักตัวและรูปร่างของคุณแม่ก็จะเข้ารูปและเกือบจะกลับมาเป็นปกติ

เป็นอาหารที่สะดวกที่สุดสำหรับลูกตลอด 24 ชม.
นมแม่เป็นแหล่งเติมพลังของลูกน้อยของเราที่สามารถให้ลูกกินได้ตลอด 24 ชม. เมื่อไรที่ลูกหิว เราก็สามารถให้ลูกกินนมจากอกของเราได้ทันที ไม่ต้องพกขวด น้ำร้อน นมผง ฯลฯ ให้ยุ่งยาก สะดวกและรวดเร็วทันใจ ลูกที่สุดแล้วละค่ะ

เป็นนมอุ่นๆ พร้อมดื่มได้ตลอดจากอกแม่
คุณสมบัติที่พิเศษที่หานมอื่นๆ ในโลกนี้ไม่ได้อีกแล้วนั้นคือ การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่นั้น แม่ไม่ต้องกังวลว่านมแม่นั้นจะร้อนเกินไป หรือเย็นเกินไปสำหรับลูก เพราะนมแม่ที่ออกมาจากเต้านั้น จะมีอุณหภูมิที่พอเหมาะกับ ลูกของเราทันที หากเลี้ยงลูกด้วยนมวัว เราคงต้องตรวจสอบก่อนเสมอว่านมที่ผสมนั้นจะร้อนเกินไปหรือเย็นเกินไปหรือไม่

ไม่ต้องเสียเงินค่านมแพงๆ รวมถึงอุปกรณ์อื่นๆ
ค่านมผงชนิดต่างๆ นั้น ปัจจุบันราคาถีบตัวสูงมากขึ้น ไหนจะค่าขวดนม ค่าน้ำยาล้างขวดนม อุปกรณ์ล้างขวดนม ฯลฯ ค่าใช้จ่ายเหล่านี้จะหมดไปหากเราเลี้ยงลูกด้วยน้ำนมแม่ เพราะนมแม่กลั่นมาจากร่างกายของแม่เอง ไม่ต้องใช้อุปกรณ์เสริมใดๆ อีก

นมแม่จะมีมากหรือน้อย จะมีภูมิต้านทานมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับอาหาร การพักผ่อน และอารมณ์ของแม่เป็นหลัก หากคุณแม่ดูแลร่างกายอย่างดี กินอาหารที่มีประโยชน์ นอนหลับพอเพียง และบริหารอารมณ์ตัวเองให้ดี อยู่เสมอๆ ก็จะมีนมแม่มากพอให้ลูกของเรากินแน่นอนค่ะ จะเห็นว่านมแม่นั้นปลอดภัยกับลูกของเราที่สุดในโลกและยังมีข้อดีอีกตั้งหลายอย่าง แล้วอย่างนี้จะเลี้ยงลูกด้วยนมอื่นๆ อีกเหรอค่ะ หันมาเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ดีกว่า ค่ะ

มาเตรียมอุปกรณ์สำหรับอาบน้ำให้ลูกดีกว่าค่ะ

การอาบน้ำให้ลูกถือเป็นความสุขของพ่อแม่ แต่ก็ต้องใช้ความระมัดระวังใน การอาบน้ำให้มาก ยิ่งลูกยังเป็นแค่ทารกแรกเกิด การจะอาบน้ำให้ลูกนั้นพ่อแม่หลายคนก็กลัว (เพราะลูกยังตัวเล็กมา คอก็ยังไม่แข็ง) ดังนั้นพ่อแม่ควรจะเตรียมอุปกรณ์ให้พร้อม เวลาอาบน้ำให้ลูกจะได้หยิบจับใช้อุปกรณ์ต่างๆ ได้อย่างครบถ้วน

อ่างอาบน้ำ

อ่างอาบน้ำสำหรับเด็กทารกอ่างอาบน้ำสำหรับเด็กนั้นมีให้เลือกหลายแบบ ทั้งอ่างอาบน้ำขนาดเล็กและขนาดใหญ่ ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับความเหมาะสม เช่น อ่างอาบน้ำขนาดเล็กจะเหมาะกับทารกแรกเกิดจนถึงอายุประมาณ 1 ขวบ (บางแบบก็สามารถใช้ได้จนลูกอายุ 2-3 ปี) ซึ่งพ่อแม่ควรจะพิจารณาวัสดุที่แข็งแรง
อ่างอาบน้ำมีให้เลือกหลากหลายรูปแบบ ทั้งแบบที่มีขาตั้ง ซึ่งพ่อแม่จะสะดวกในการอุ้มลูกอาบน้ำ หรือหากที่บ้านมีอ่างอาบน้ำสำหรับผู้ใหญ่แล้วก็สามารถให้ลูกอาบน้ำในอ่างผู้ใหญ่ก็ได้ แต่แนะนำว่าลูกควรจะมีอายุ 6 เดือนขึ้นไป หรือลูกเริ่มนั่งเองได้ โดยใช้น้ำไม่เยอะมาก ให้ลูกนั่งในอ่าง แล้วเรารองน้ำจากฝักบัวอาบน้ำให้ลูกอีกทีก็สะดวกเช่นกัน

พูดคุยกับลูกเวลาลูกดูดนมทำให้ลูกรักเรามากขึ้นได้จริงเหรอ

เคยสังเกตไหมค่ะว่า เวลาลูกของเราดูดนม ไม่ว่าจะเป็นดูดนมจากอกของแม่เอง หรือดูดจากขวดนมก็ดี จะมีจังหวะที่ลูกหยุดดูดเอาดื้อๆ เสมอ ซึ่งพ่อแม่หลายคนก็กังวลว่าลูกจะไม่ดูดดนม หรือหยุดกินนม จึงต้องมีการเขย่าตัวลูกเบาๆ ทราบหรือไม่ว่าจังหวะที่คุณพ่อคุณแม่กำลังเขย่าตัวลูกนั้นเป็นช่วงเวลาสำคัญที่คุณและลูกจะสร้างความผูกพันกันมากขึ้นได้อย่างรวดเร็ว


จังหวะการดูดนมของเด็กเป็นอย่างไร
โดยปกติตามธรรมชาติ เด็กที่ดูดนม (ไม่ว่าจากอกแม่หรือจากขวดนม) จะมีจังหวะการดูด (ในช่วงแรก) เป็นในลักษณะดังนี้

ดูด – ดูด – ดูด

หลังจากนั้น เมื่อลูกได้ดูดนมไปสักพักหนึ่งจะเริ่มปรับจังหวะการดูดเป็นลักษณะดังนี้

ดูด – ดูด – ดูด – หยุด (และซ้ำแบบนี้ไปเรื่อยๆ)

ช่วงจังหวะที่ลูกหยุดดูดนี้เอง พ่อแม่หลายคนกังวลว่าลูกจะหยุดดูดต่อ (กลัวลูกกินนมไม่อิ่ม) จึงทำการเขย่าตัวลูกเบาๆ หรือพูดคุยพร้อมกับมองไปที่หน้าของลูก และสิ่งที่เกิดขึ้นก็คือ ลูกจะหยุดดูดนมไปชั่วขณะเพื่อรับรู้ สิ่งที่คุณพ่อคุณแม่กำลังทำต่อพวกเขา นั้นคือ การฟังสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่กำลังพูด, มองใบหน้าของพ่อแม่ และหลังจากนั้นเด็กก็จะกลับเข้าสู่จังหวะการดูด 3 ครั้งและหยุด 1 ครั้งแบบเดิมอีก

ทำไมลูกจึงดูด – ดูด – ดูด – หยุด
นับเป็นเรื่องที่แปลกมาก เนื่องจากมีการทดลองทางการแพทย์แล้วได้ผลลัพท์ที่น่าทึ่ง โดยทีมแพทย์ได้ทดลองจับเวลาระหว่างการให้นมลูก โดยปล่อยให้เด็กได้ดูดนมตามจังหวะปกติของเขา และเมื่อเด็กหยุดดูดนมก็ไม่ต้องเขย่าหรือพูดคุย กับอีกกลุ่มเมื่อเด็กหยุดดูดนมก็ให้เขย่าตัวเบาๆ พร้อมกับ ยิ้ม จ้องมอง และพูดคุยกับลูก

ผลการทดสอบที่ได้สรุปได้ดังนี้

ต่อให้เราไม่เขย่าตัวลูก (จังหวะที่ลูกหยุดดูด) ลูกก็จะกลับมาดูดนมได้เองตามจังหวะที่มั่นคง
ยิ่งเราพูดคุย จ้องมอง และเขย่าตัวลูก ลูกจะยืดจังหวะการหยุดนั้นออกไป เพราะเขากำลังรับรู้และพยายามสื่อสารกับสิ่งที่เขาได้รับรู้มา (นั้นคือการพูด การเขย่า จากพ่อแม่)
ปริมาณการกินนมของเด็กทั้ง 2 กลุ่ม เท่ากัน (จะเขย่าหรือไม่เขย่า ก็ไม่ได้กินนมมากขึ้นเท่าไรนัก)
การพูดคุยกับลูกขณะลูกกำลังดูดนมไปด้วย (โดยเฉพาะดูดนมแม่) จะทำให้ลูกไม่หลับคาอกแม่มากกว่าปล่อยให้ลูกดูดนมเงียบๆ
ลูกจะสามารถจดจำกลิ่นและเสียงของพ่อแม่ตัวเองได้ภายใน 4-7 วันนับจากวันแรกเกิด
ยิ่งคุณพูดคุยกับลูกมากเท่าไรตอนที่ลูกกำลังดูดนม เขาก็จะยิ่งจ้องมองคุณมากขึ้น และยาวนานขึ้น ลูกจะรับรู้และสัมผัสถึงความรัก ความผูกพันที่คุณมีให้กับเขามากขึ้น นั้นจึงทำให้เขาจดจำ และรับรู้ว่า เขามีคนที่คอย ดูแลและรักเขามากแค่ไหน จึงไม่แปลกที่ลูกจะติดคุณมากกว่า และจดจำพ่อแม่ได้เร็ว

นอกจากนั้นในผลการทดสอบทำให้ทราบว่า การพูดจากับลูก การเขย่าตัวลูกเบาๆ บ้าง ขณะที่เขากำลังดูดนมนั้น ตัวพ่อแม่เองก็ยังได้รับความรู้สึกอิ่มเอิบ สุขใจ ซึ่งจะหาความรู้สึกนี้จากไหนไม่ได้อีกแล้ว ดังนั้นเวลาที่ ให้ลูกดูดนมคราวหน้า อย่าลืมพูดคุยกับลูกให้มากๆ นะค่ะ

พูดคุยกับลูกเวลาลูกดูดนมทำให้ลูกรักเรามากขึ้นได้จริงเหรอ

เคยสังเกตไหมค่ะว่า เวลาลูกของเราดูดนม ไม่ว่าจะเป็นดูดนมจากอกของแม่เอง หรือดูดจากขวดนมก็ดี จะมีจังหวะที่ลูกหยุดดูดเอาดื้อๆ เสมอ ซึ่งพ่อแม่หลายคนก็กังวลว่าลูกจะไม่ดูดดนม หรือหยุดกินนม จึงต้องมีการเขย่าตัวลูกเบาๆ ทราบหรือไม่ว่าจังหวะที่คุณพ่อคุณแม่กำลังเขย่าตัวลูกนั้นเป็นช่วงเวลาสำคัญที่คุณและลูกจะสร้างความผูกพันกันมากขึ้นได้อย่างรวดเร็ว


จังหวะการดูดนมของเด็กเป็นอย่างไร
โดยปกติตามธรรมชาติ เด็กที่ดูดนม (ไม่ว่าจากอกแม่หรือจากขวดนม) จะมีจังหวะการดูด (ในช่วงแรก) เป็นในลักษณะดังนี้

ดูด – ดูด – ดูด

หลังจากนั้น เมื่อลูกได้ดูดนมไปสักพักหนึ่งจะเริ่มปรับจังหวะการดูดเป็นลักษณะดังนี้

ดูด – ดูด – ดูด – หยุด (และซ้ำแบบนี้ไปเรื่อยๆ)

ช่วงจังหวะที่ลูกหยุดดูดนี้เอง พ่อแม่หลายคนกังวลว่าลูกจะหยุดดูดต่อ (กลัวลูกกินนมไม่อิ่ม) จึงทำการเขย่าตัวลูกเบาๆ หรือพูดคุยพร้อมกับมองไปที่หน้าของลูก และสิ่งที่เกิดขึ้นก็คือ ลูกจะหยุดดูดนมไปชั่วขณะเพื่อรับรู้ สิ่งที่คุณพ่อคุณแม่กำลังทำต่อพวกเขา นั้นคือ การฟังสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่กำลังพูด, มองใบหน้าของพ่อแม่ และหลังจากนั้นเด็กก็จะกลับเข้าสู่จังหวะการดูด 3 ครั้งและหยุด 1 ครั้งแบบเดิมอีก

ทำไมลูกจึงดูด – ดูด – ดูด – หยุด
นับเป็นเรื่องที่แปลกมาก เนื่องจากมีการทดลองทางการแพทย์แล้วได้ผลลัพท์ที่น่าทึ่ง โดยทีมแพทย์ได้ทดลองจับเวลาระหว่างการให้นมลูก โดยปล่อยให้เด็กได้ดูดนมตามจังหวะปกติของเขา และเมื่อเด็กหยุดดูดนมก็ไม่ต้องเขย่าหรือพูดคุย กับอีกกลุ่มเมื่อเด็กหยุดดูดนมก็ให้เขย่าตัวเบาๆ พร้อมกับ ยิ้ม จ้องมอง และพูดคุยกับลูก

ผลการทดสอบที่ได้สรุปได้ดังนี้

ต่อให้เราไม่เขย่าตัวลูก (จังหวะที่ลูกหยุดดูด) ลูกก็จะกลับมาดูดนมได้เองตามจังหวะที่มั่นคง
ยิ่งเราพูดคุย จ้องมอง และเขย่าตัวลูก ลูกจะยืดจังหวะการหยุดนั้นออกไป เพราะเขากำลังรับรู้และพยายามสื่อสารกับสิ่งที่เขาได้รับรู้มา (นั้นคือการพูด การเขย่า จากพ่อแม่)
ปริมาณการกินนมของเด็กทั้ง 2 กลุ่ม เท่ากัน (จะเขย่าหรือไม่เขย่า ก็ไม่ได้กินนมมากขึ้นเท่าไรนัก)
การพูดคุยกับลูกขณะลูกกำลังดูดนมไปด้วย (โดยเฉพาะดูดนมแม่) จะทำให้ลูกไม่หลับคาอกแม่มากกว่าปล่อยให้ลูกดูดนมเงียบๆ
ลูกจะสามารถจดจำกลิ่นและเสียงของพ่อแม่ตัวเองได้ภายใน 4-7 วันนับจากวันแรกเกิด
ยิ่งคุณพูดคุยกับลูกมากเท่าไรตอนที่ลูกกำลังดูดนม เขาก็จะยิ่งจ้องมองคุณมากขึ้น และยาวนานขึ้น ลูกจะรับรู้และสัมผัสถึงความรัก ความผูกพันที่คุณมีให้กับเขามากขึ้น นั้นจึงทำให้เขาจดจำ และรับรู้ว่า เขามีคนที่คอย ดูแลและรักเขามากแค่ไหน จึงไม่แปลกที่ลูกจะติดคุณมากกว่า และจดจำพ่อแม่ได้เร็ว

นอกจากนั้นในผลการทดสอบทำให้ทราบว่า การพูดจากับลูก การเขย่าตัวลูกเบาๆ บ้าง ขณะที่เขากำลังดูดนมนั้น ตัวพ่อแม่เองก็ยังได้รับความรู้สึกอิ่มเอิบ สุขใจ ซึ่งจะหาความรู้สึกนี้จากไหนไม่ได้อีกแล้ว ดังนั้นเวลาที่ ให้ลูกดูดนมคราวหน้า อย่าลืมพูดคุยกับลูกให้มากๆ นะค่ะ

5 คำถามยอดฮิตเกี่ยวกับนมแม่

เชื่อว่าคุณแม่หลายๆ คนคงตัดสินใจอยากจะเลี้ยงลูก ด้วยนมแม่ แต่ก็ยังมีความเชื่ออีกหลายข้อที่เคยเชื่อ หรือเคยได้ยิน หรือเขาบอกว่า (เขาไหนก็ไม่รู้) เกี่ยวกับนมแม่ วันนี้มาทำความรู้จักกับนมแม่ให้มากยิ่งขึ้นกับคำถามยอดฮิต (ตลอดกาล) เกี่ยวกับนมแม่กันค่ะ

1. นมแม่จะมีปริมาณพอเลี้ยงลูกเหรอค่ะ

ตามธรรมชาติแล้ว นมแม่นั้นจะผลิตมากหรือน้อย ขึ้นอยู่ว่าได้รับการกระตุ้นจากลูก (การดูดนม) บ่อยแค่ไหน การที่ลูกดูดนมแต่ละครั้งจะเป็นกระตุ้นให้ร่างกายของแม่ผลิตน้ำนมให้มากขึ้นอยู่แล้ว แต่ปัญหาที่มักจะเกิด ขึ้นจนกลายเป็นเรื่องเล่าขานว่า การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จะมีนมไม่พอให้ลูกกิน เกิดจากสาเหตุสำคัญคือช่วงหลังจากคลอดลูก ลูกไม่ได้ดูดนมจากอกแม่ทันทีต่างหาก
ตอนคลอดลูกหากเราไม่ได้แจ้งพยาบาลหรือคุณหมอว่าจะเลี้ยงด้วยนมแม่ หลังคลอดลูกแล้วพยาบาลนำลูกของเราไปอาบน้ำ ทำความสะอาด และให้นมผงเลย ซึ่งการทำแบบนี้จะทำให้ลูกติดการกินนมจากขวด ( เพราะดูดง่าย นมออกเยอะ กินทันใจดี) ทำให้เวลามากินนมจากเต้าของแม่ก็จะร้อง หงุดหงิด นอกจากนั้นยังส่งผลต่อร่างกายของแม่ด้วย เพราะหลังคลอดแล้วหากให้ลูกดูดนมแม่ทันที (แม้ว่าจะยังไม่มีน้ำนมออกมา) จะเป็น กระตุ้นร่างกายแบบธรรมชาติให้ร่างกายผลิตน้ำนมออกมา ในต่างประเทศหลายๆ ประเทศเลิกการให้นมผงกับลูกหลังคลอดแล้ว (แม้ว่าตัวคุณแม่จะไม่ได้บอกว่าจะขอเลี้ยงด้วนมแม่) หลังจากอาบน้ำทำความสะอาดแล้ว พยาบาลจะพาลูกกลับมาหาแม่และให้ลูกดูดนมแม่ทันที ซึ่งในปัจจุบันยังมีหลายโรงพยาบาลที่ยังคงทำแบบนี้ (คือให้ลูกเรากินนมผงเลย) ดังนั้นต้องตรวจสอบให้แน่ใจตั้งแต่เนิ่นๆ นะค่ะ อย่าได้ชะล่าใจไปเชียว
คุณแม่ทั้งหลายโปรดจำไว้นะค่ะว่า ตามธรรมชาติแล้วร่างกายของเราจะผลิตน้ำนมออกมาให้ลูกกินได้อย่างพอเพียงเสมอค่ะ (ไม่อย่างนั้นในสมัยก่อนที่นมผงยังไม่มี เด็กแรกเกิดคงจะอดตายกันหมดโลกแล้วละค่ะ)
เทคนิคอีกอย่างในการกระตุ้นให้ร่างกายผลิตน้ำนมอย่างเพียงพอคือ ให้ลูกดูดนมทุกๆ 2-3 ชั่วโมงตลอดกลางวันและกลางคืน (ในช่วงแรกๆ) แม้ว่าลูกดูดแล้วจะไม่มีน้ำนมออกมา แต่ก็เป็นการกระตุ้นให้น้ำนมผลิตออก มามากขึ้นและเร็วขึ้น เพราะการผลิตน้ำนมของเต้านมแม่นั้นหากได้รับการกระตุ้นอยู่เสมอๆ ร่างกายก็จะผลิตน้ำนมออกมาอย่างสม่ำเสมอและมีปริมาณที่มากขึ้นเรื่อยๆ นอกจากนั้นการนอนหลับพักผ่อน การกินอาหารที่มี ประโยชน์ (ให้ครบ 5 หมู่) และการทำจิตใจให้ผ่อนคลาย ก็จะช่วยให้ร่างกายผลิตน้ำนมได้มากขึ้น หากคุณแม่เหนื่อยกับการดูแลลูกหลังคลอดใหม่ๆ ก็อาจจะหาเวลาพักง่ายๆ ด้วยการนั่งเหยีบดปลายเท้าแบบผ่อนคลายเวลาที่ ลูกนอนหลับก็ได้ค่ะ
นอกจากนั้นอย่าลืมที่จะดื่มน้ำให้มากนะค่ะ คุณแม่ที่ให้นมลูกนั้นควรจะดื่มนมอย่างน้อย 3 ลิตรต่อวัน ควรจะจิบน้ำตลอดวัน และหลีกเลี่ยงการดื่มชา กาแฟ เหล้า หรือสูบบุหรี่ เพราะสิ่งที่คุณแม่รับเข้าไป จะมีผลต่อไป ยังน้ำนมของเราด้วยค่ะ

2. ลูกไม่ชอบดูดนมจากอกแม่ ดูดทีไรร้องไห้งอแง แต่พอให้กินจุ๊บขวดนมก็เงียบ ไม่รู้จะแก้ยังไง

ปัญหาลูก “ติด” การดูดนมจากจุ๊บขวดนม มาจากการที่ผู้ดูแล (หรือตัวคุณแม่เอง) เผลอให้ลูกดูดนมจากขวดนม ซึ่งการดูดนมจากขวดจะแตกต่างจากการดูดนมจากเต้านมแม่แน่นอน เพราะว่าการดูดนมจากจุ๊บของขวด นมจะใช้แรงน้อยกว่า และยังได้น้ำนมมากกว่าด้วย ลูกจึง “ติด” การดูดนมจากขวดนมมากกว่า
ทางแก้ก็คือ อย่าให้ลูกได้ดูดนมจากขวดนมเป็นอันขาด อย่าได้ลองเลยค่ะ เพราะลูกจะ “ติด” การดูดนมจากขวดนมง่ายกว่า และเลิกยากกว่ามาก จนสุดท้ายจะแก้ไขภายหลังก็ยากและเสียเวลามาก หากเราไม่เคยให้ลูก ดูดนมจากขวดเลย ลูกก็จะพยายามดูดนมจากเต้าเอง (เป็นไปเองตามธรรมชาติ)
หากเกิดปัญหาลูก “ติด” การดูดนมจากขวด จะโทษใครไม่ได้นอกจากโทษตัวเองที่ปล่อยให้ลูกรู้จักกับขวดนมก่อนวัยอันควรนั้นเองค่ะ โดยปกติเราจะไม่หัดให้ลูกดูดนมจากขวดในช่วง 4-5 สัปดาห์แรก แต่เมื่อลูกอายุ มากขึ้นก็อาจจะปรับเปลี่ยนให้ลูกรู้จักการดูดจากขวดนมได้บ้าง แต่ก็อาจจะเกิดปัญหาลูก “ติด” ได้ หากเป็นไปได้ก็ควรจะให้ลูกดูดนมจากอกแม่เท่านั้น (ยกเว้นกรณีที่ตัวคุณแม่ป่วย หรือไม่สามารถให้นมลูกได้ ต้องปั้มนมลูก ใส่ขวดอันนี้ก็อีกเรื่องหนึ่งค่ะ)
3. เจ็บหัวนมมากเวลาลูกดูดนม
อาการเจ็บหัวนม หรือหัวนมเป็นแผลเพราะลูกดูดนม หรือลูกขบกัดหัวนมนั้น อาจจะเกิดขึ้นได้จริง แต่ก็สามารถป้องกันได้เช่นกัน ปัญหาที่ลูกกัดหรือขบหัวนม โดยมากเกิดจากการที่ตัวคุณแม่ให้นมในตำแหน่งที่ไม่ถูกต้อง โดยตำแหน่งที่ถูกต้องนั้น ปากของลูกจะต้องปิดรอบลานนมได้สนิท ส่วนจุกหัวนมนั้นควรจะอยู่บริเวณตำแหน่งบนกลางลิ้นลูกพอดี ลูกจะใช้ลิ้นดันจุกหัวนม อาการเจ็บหัวนมก็จะไม่เกิดขึ้น แต่หากคุณแม่อุ้มลูกในตำแหน่งที่ ไม่ถูกต้อง (จุกหัวนมไม่ได้อยู่ตำแหน่งบนกลางลิ้น) ลูกก็จะพยายามดูดโดยอาจจะการขบ หรือใช้เหงือกร่วมด้วย จึงเป็นสาเหตุให้เกิดอาการบาดเจ็บได้
ทางแก้ไขคือ นอกจากจะต้องจัดท่าให้นมให้ถูกตำแหน่งแล้ว หากรู้ว่าไม่ถูกตำแหน่งก็ควรจะหยุดให้นมทันที โดยการเอานิ้วเขี่ยที่มุมปากของลูกเบาๆ โดยธรรมชาติลูกจะหยุดดูดนมและอ้าปากตามเวลาเราเขี่ยที่มุมปาก ลูก เราก็ค่อยๆ เอานมออกจากปากลูก (อย่ารีบดึงนมออกจากปากลูก เพราะจะยิ่งทำให้เกิดอาการเจ็บได้) หากเขี่ยที่มุมปากลูกแล้ว ลูกยังไม่ยอมหยุดดูด ก็ให้ใช้นิ้วกดลงบนคางลูก (ค้างไว้สักครู่) ลูกก็จะหยุดและอ้าปากเอง ตามธรรมชาติค่ะ นอกจากนั้นอาจจะใช้ครีมลาโนลินเพื่อช่วยลดอาการแตก และควรจะเปลี่ยนข้างในการให้นมลูก
4. อาหาร ยา และโรคติดต่ออื่นๆ จะส่งผลถึงน้ำนมที่ลูกกิน
  • จริงหรือเปล่าที่ว่า ถ้าแม่กินของแสลง ของแสลงจะส่งผ่านไปยังน้ำนมด้วย
  • เป็นความเชื่อโบราณที่น่าจะเคยได้ยินมา แต่ความจริงก็คือ อาหารต่างๆ เช่น แกงเลียง, ผักและผลไม้บางชนิด ที่คนโบราณเชื่อว่ากินแล้วจะดี (หรือไม่ดี) ต่อคุณภาพน้ำนมนั้น ความจริงคือ มีผลกระทบน้อยมาก ดังนั้น คุณแม่จึงควรใส่ใจกับการทานอาหารให้ครบถ้วนทุกหมวดหมู่มากกว่าจะไปเฉพาะเจาะจงกับเมนูใดเมนูหนึ่ง
  • ยาที่ทานมีผลส่งต่อกับลูกที่กำลังกินนมแม่หรือไม่
  • มีค่ะ เพราะยาส่วนใหญ่เกือบทุกชนิด (แม้กระทั่งยาแก้ไอ ยาแก้ปวดบางประเภท) ก็มีผลต่อระบบภายในของคุณแม่ ดังนั้นจะกินยาอะไรก็ควรจะปรึกษาคุณหมอที่ดูแลให้ดีก่อนเสมอ อย่าไปซื้อยากินเองนะค่ะ เพราะ พลาดท่าขึ้นมาจะไม่คุ้มเอาค่ะ
    สำหรับโรคติดต่อที่ส่งต่อทางน้ำนมแม่นั้น มีอยู่โรคเดียวคือ โรคเอดส์ค่ะ นั้นก็หมายความว่า หากคุณแม่ท่านใดที่ติดเชื้อ HIV เมื่อคลอดลูกออกมาแล้ว (ถึงแม้ว่าลูกจะไม่ติด HIV) ก็ไม่แนะนำให้คุณแม่ท่านนั้นเลี้ยงลูก ด้วยนมแม่ค่ะ เพราะเชื้อ HIV สามารถผ่านจากนมแม่ได้ค่ะ
ถึงแม้ว่าคุณแม่ที่กำลังให้นมลูกนั้น จะทานอาหารน้อย หรือทานอาหารที่ไม่ถูกต้อง หรือไม่ครบถ้วนตามหลักโภชนาในแต่ละมื้อ ก็อย่าเพิ่งกังวลมากเกินไปว่าน้ำนมที่ให้ลูกกินนั้นจะไม่ได้คุณภาพ เพราะด้วยระบบ ธรรมชาติจะผลิตน้ำนมที่มีสารอาหารที่ลูกต้องการได้อย่างครบถ้วน แต่หากแม่ท่านใดที่ได้รับประทานอาหารอย่างครบถ้วนแล้ว น้ำนมที่ได้ก็จะมีคุณภาพที่ดีกว่า (สารอาหารในปริมาณที่มากกว่า รวมถึงแร่ธาตุอาหารบางชนิด) ดังนั้นทางที่ดีคุณแม่ที่กำลังอยู่ในช่วงให้นมลูก ก็ควรจะทานอาหารให้ครบถ้วน

5. แม่ที่มีขนาดเต้านมเล็กจะมีน้ำนมน้อยกว่าคนเต้านมใหญ่

เป็นเรื่องที่เข้าใจผิดอีกเรื่องของคนส่วนมาก เพราะเมื่อเพศหญิงคลอดลูกแล้ว แม้ว่าก่อนจะคลอดลูกจะมีขนาดเต้านมที่เล็ก แต่ธรรมชาติก็จะปรับตัวให้เอง นั้นคือเมื่อลูกดูดนมจากอกแม่ เต้านมจะมีการปรับตัวและขยาย ใหญ่ขึ้นเพื่อเก็บปริมาณน้ำนมให้มากขึ้น โดยเต้านมนี้จะขยายใหญ่ขึ้นเองเท่าที่ปริมาณที่ลูกต้องการกินนมอย่างเป็นธรรมชาติ ดังนั้นจึงไม่ต้องกังวลว่าเราเป็นคนอกเล็กจะมีน้ำนมไม่พอเพียงกับลูกของเรานะค่ะ